เทพเจ้าไท้ส่วยเอี๊ย “เทพเจ้าผู้คุ้มครองดวงชะตา” ผู้มีอิทธิพลกับชะตาชีวิต
ปีชง มาจากความเชื่อทางโหราศาสตร์จีน เกี่ยวข้องกับองค์เทพเจ้าไท้ส่วย หรือที่รู้จักกันดีในนาม “เทพเจ้าผู้คุ้มครองดวงชะตา” ซึ่งเป็นเทพผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ และมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในแต่ละปี
คำว่า “ไท้ส่วย” ยังมีความหมายถึงดาวพฤหัสบดีในภาษาจีนโบราณ ซึ่งดาวพฤหัสบดีนี้เองก็ถือว่าเป็นประธานของดาวศุภเคราะห์ ซึ่งหมายถึง คุณธรรม ความดี โชคลาภ ทรัพย์สิน ในความเชื่อทางโหราศาสตร์ของไทย ดังนั้นจึงมีการเชื่อมโยงว่าหากดาวพฤหัสบดีไม่ดีในความเชื่อทางโหราศาสตร์ไทย หรือหากปีนักษัตรใดปะทะหรือได้รับผลร้ายจากเทพเจ้าไท้ส่วย จะทำให้ปีนั้นจะเป็นปีที่ได้รับผลไม่ดี หรือที่เราเรียกว่า ปีชง
ปีชง คืออะไร ?
“ปีชง” หลายคนอาจจะเคยได้ยินกันอย่างคุ้นหู เพราะในแต่ละปีนั้นจะมีปีนักษัตรที่ชงกัน บางคนอาจจะรู้ความหมายอยู่แล้วว่าปีชงนั้นคืออะไร แต่บางคนอาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจความหมายที่แท้จริงของคำว่าปีชง วันนี้ทีม เราจะมาไขข้องใจว่าปีชงจริงๆแล้วมันคืออะไร
ก่อนอื่น ต้องมาทำความเข้าใจว่าปีชงคืออะไร? สำหรับคำว่า “ปีชง” หมายถึง ปีแห่งการปะทะ เป็นเรื่องพลังของกาลเวลาในวิชา “โหราศาสตร์จีน” โดยปีชงตรงๆจะได้รับผลกระทบมากที่สุด ส่วนปีคัก ปีเฮ้ง ปีผั่ว ซึ่งเรามักเรียกว่า ปีชงร่วม จะได้รับผลกระทบไม่มากเท่ากับปีชง
แก้ปีชง ปีชงร่วม
ปีชง คือ ความเชื่อทางโหราศาสตร์ของจีน โดยได้แบ่งพลังของกาลเวลาออกเป็น 60 ช่วงเวลาเรียกว่า “ไท้ส่วย” โดยแต่ละช่วงเวลาจะจับคู่ปะทะและเป็นมิตรซึ่งกันและกัน ตามดวงชะตาปีเกิดของแต่ละบุคคล (ดูตามปีนักษัตร) เมื่อใดที่พลังของไท้ส่วยในปีนั้น มาปะทะกับไท้ส่วยในดวงชะตาปีเกิด ก็แปลว่าปีนั้นเป็นปีชงเกิดขึ้นโดยเกี่ยวข้องกับ “องค์เทพเจ้าไท้ส่วยเอี้ย หรือไท้ส่วยเอี๊ย” เป็นเทพเจ้าที่ชาวจีนเคารพและรู้จักกันดีในนาม “เทพเจ้าผู้คุ้มครองดวงชะตา” เป็นเทพที่ทรงอิทธิฤทธิ์และยังมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของผู้คนในแต่ละปีอีกด้วย “ปีชง” หมายถึง คู่ปีเกิดที่ไม่ถูกกัน ซึ่งมีหลักการในการดูง่ายๆ คือ คนที่อายุต่างกัน 6 ปี ถ้านับตามปีเกิด ก็คือปีที่อยู่ตรงข้ามกัน โดยหลักจะเชื่อว่าปีที่อยู่ตรงกันข้าม เป็นปีคู่กัด เป็นปีที่จัดว่าเป็นปรปักษ์กัน คนจีนมักจะใช้ปีชงมาอิงกับการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการงาน การหาคู่ครอง หรือ ปัญหาครอบครัว” หรือจะคิดแบบง่ายๆ คือ ถ้าปีนั้นเป็นปีชงของปีนักษัตรไหน มีความเชื่อว่าไม่ว่าจะทำอะไรก็จะเกิดอุปสรรค ทำอะไรก็จะเกิดปัญหาติดขัด ไม่ราบรื่น ดังนั้นจึงต้องมีการเสริมดวงชะตาด้วยการแก้ชงเกิดขึ้น เพื่อให้ดวงชะตานั้นคลี่คลายไปในทางที่ดี
คำว่า “ไท้ส่วย” ยังมีความหมายถึงดาวพฤหัสบดีในภาษาจีนโบราณ ซึ่งดาวพฤหัสบดีนี้เองก็ถือว่าเป็นประธานของดาวศุภเคราะห์ ซึ่งหมายถึง คุณธรรม ความดี โชคลาภ ทรัพย์สิน ดังนั้นหากปีนักษัตรใดปะทะหรือได้รับผลร้ายจากเทพ “ไท้ส่วย” จะทำให้ปีนั้นจะเป็นปีที่ได้รับผลไม่ดี หรือที่เราเรียกว่า ปีชง
สำหรับใครที่ยังไม่รู้ว่าปีนี้เป็นปีชงหรือไม่ สามารถเช็คปีชงได้จาก รูป 12 นักษัตร และสำหรับคนที่รู้ว่า ปี 2565 เป็นปีชงของตัวเองแล้ว และหากยังไม่รู้ว่าจะไปแก้ปีชงที่ไหนดี แนะนำ วิธีแก้ปีชง ปี 2565
ปีที่ได้รับผลกระทบ
- ปีชง คือ ปีที่ได้รับผลเสียมากที่สุดหรือที่เราเรียกกันว่าชงโดยตรง
- ปีคัก คือ ปีที่เป็นปีนักษัตรเดียวกับปีนั้นๆ
- ปีเฮ้ง คือ ปีที่ได้รับผลกระทบในเรื่องเคราะห์กรรม
- ปีผั่ว คือ ปีที่ได้รับผลกระทบในเรื่องสุขภาพ
คำแนะนำแก้ไขปีชง ควรทำอย่างไร ?
สิ่งที่คนปีชงที่ต้องระมัดระวังและไม่ควรทำ สำหรับคนปีชง และคนปีชงร่วม
- เพิ่มความระมัดระวังเรื่องปัญหาสุขภาพ การเงิน ความรัก เพื่อหลีกเลี่ยงเรื่องไม่คาดฝันต่าง ๆ
- ไม่ควรเดินทางไปร่วมงานศพ หรืออยู่ในพิธีฝังศพ เพื่อลดปัญหาต่าง ๆ ที่อาจตามมาในภายหลัง เพราะอาจได้รับผลกระทบทำให้ร่างกายเจ็บป่วยกะทันหันได้
แก้ปีชงที่ไหน ?
วิธีแก้ปีชงง่าย ๆ สามารถไปวัดจีน วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) เพื่อทำพิธีแก้ปีชงได้ที่วัด
ของไหว้แก้ปีชง
ของไหว้สำหรับแก้ปีชง มีดังนี้
- ส้มมงคล (ไต้กิก) 1 จาน
ไหว้เสร็จแล้วนำกลับบ้านไปกินจะได้เป็นมงคลกับตัวเอง เฮง ๆ รวย ๆ ตลอดทั้งปี - น้ำมันเติมตะเกียง 1 ขวด
หมายถึง ชีวิตที่รุ่งเรืองโชติช่วงตลอดทั้งปี - กระดาษหงิ่งเตี๋ย หรือกระดาษเงินกระดาษทอง 13 แผ่น
พร้อมเทียบแดง เขียนชื่อ-นามสกุล วันเดือนปีเกิด ถ้าเป็นการแก้ชงตัวเองให้นำกระดาษหงิ่งเตี๋ยมาปัดที่ตัวเอง 13 ครั้ง (ปออุ่ง) ปัดลงมาตั้งแต่ศีรษะจรดเท้าจนสุดแขน ฝากกระดาษไว้ไม่ต้องเผา - ซองบรรจุดวงชะตา ชื่อ-นามสกุล วันเดือนปีเกิด
นำซองที่บรรจุดวงชะตา ฝากไว้ที่ศาลเจ้าเพื่อให้พระจีนได้สวดมนต์ (พะเก่ง) ทำพิธีเสริมดวงชะตาให้เราแคล้วคลาดปลอดภัย เป็นสิริมงคลตลอดทั้งปี
วิธีแก้ชง ปี 2565
การเดินทางไปวัดมังกรแก้ปีชง
การเดินทางไป วัดมังกรกมลาวาส หรือ วัดเล่งเน่ยยี่ สามารถเดินทางได้สะดวกโดยใช้บริการของรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน (MRT) ลงlถานีวัดมังกร ออกทางออกที่ 3 เลี้ยวขวา เดินต่อไปประมาณ 50 เมตร จะเถึงวัดมังกรอยู่ด้านขวามือ
ที่มาข้อมูลและรูปภาพ:
- เว็บไซต์วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (th.wikipedia.org)
- เฟซบุ๊กวัดมังกรกมลาวาส (facebook.com/Wat.Mangkonkamalawat.Temple)
Leave a comment