บทสวดบูชาพระประจำวันเกิดวันอังคาร คาถาบูชาพระประจำวันอังคาร

บทสวดมนต์ คาถาบูชาพระประจำวันอังคาร

คาถาบูชาพระประจำวันอังคาร พระปางไสยาสน์

เหตุที่พระประจำวันเกิดของคนเกิดวันอังคาร กำหนดเป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ หรือพระปางปรินิพพาน เป็นพระประจำวันอังคาร เพราะดาวอังคารจัดเป็นดาวพิฆาตหรือดาวมรณะ และยังเป็นดาวเกี่ยวกับสงคราม และอุบัติเหตุ ดังนั้น ปางนี้จึงเป็นเสมือนเครื่องเตือนใจให้คนวันนี้ดำรงชีวิตด้วยความมีสติ ระมัดระวังไม่ไปก่อเหตุกับใคร อีกทั้งวันที่พระพุทธเจ้าทรงปรินิพพานก็ตรงกับวันองคาร ส่วนที่กล่าวถึงการโปรดอสุรินทราหู นั้นน่าจะหมายถึงการขจัดความมัวเมาลุ่มหลง เห็นผิดเป็นชอบ อันเป็นลักษณะของพระราหูด้วย

พุทธลักษณะพระพุทธรูปปางไสยาสน์

พระพุทธรูปปางไสยาสน์ เป็นพระประจำวันอังคาร พระประจำวันเกิดปางนี้ ในพระอริยาบถนอนตะแคงขวา พระบาททั้งสองข้างซ้อนทับเสมอกัน พระหัตถ์ซ้ายทาบไปตามพระวรกาย พระหัตถ์ขวาตั้งขึ้นรับพระเศียรและมีพระเขนย (หมอน) รองรับ บางแบบพระเขนยวางอยู่ใต้พระกัจฉะ (รักแร้)

บทสวดมนต์บูชาพระประจำวันอังคาร ฉบับเต็ม

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (สวด ๓ จบ)

ยัสสานุภาวะโต ยักขา เนวะ ทัสเสนติ ภิงสะนัง ยัมหิ
เจวานุยุญชันโต รัตตินทิวะมะตันทิโต สุขัง สุปะติ
สุตโต จะ ปาปัง กิญจิ นะ ปัสสะติ
เอวะมาทิคุณูเปตัง ปะริตตันตัมภะณามะ เส ฯ

สวดคาถาบูชาพระประจำวันอังคาร ๘ จบ เพื่อเสริมสิริมงคลชีวิต

คาถาสำหรับผู้เกิดวันอังคารภาวนาวันละ ๘ จบ จะได้มีความเกษมสุขปราศจากภูตผีปีศาจเบียดเบียน นอนป่านอนดงอย่าลืมภาวนาคาถาบทนี้ และควรมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ไว้บูชาด้วย พระท่านว่าเป็นการดีนักแลฯ

บทสวดบูชาพระประจําวันอังคาร แบบย่อ:

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (สวด ๓ จบ)

ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง

สวดคาถาบูชาพระประจำวันอังคาร แบบย่อ ๘ จบ เพื่อเสริมสิริมงคลชีวิต

วอลเปเปอร์เสริมดวง คนเกิดวันอังคาร

วอลเปเปอร์เสริมดวงวันเกิด แจกฟรี พระประจำวันเกิด คนเกิดวันจันทอังคาร เสริมดวงชะตา
วอลเปเปอร์เสริมดวงวันเกิด แจกฟรี พระประจำวันเกิด คนเกิดวันจันทอังคาร เสริมดวงชะตา

พิกัด ไหว้พระประจำวันอังคาร พระพุทธรูปปางไสยาสน์


ที่มาของประวัติความเป็นมา:

  • เว็บไซต์ ฐานข้อมูลศิลปะและวัฒนธรรมท้องถิ่น มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
  • เว็บไซต์ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม
  • เว็บไซต์ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

Leave a comment