คาถาบูชาพระแม่คงคา เทพีแห่งสายน้ำขผู้ชำระล้างความชั่ว เทพแห่งการให้อภัย

คาถาบูชาพระแม่คงคา มหาเทวีแห่งสายน้ำทั่วโลก

สวดบูชาพระแม่คงคา อธิษฐานขอพร ขอขมาวันลอยกระทง

สิ่งที่มีความเกี่ยวเนื่องถึงชาวพุทธในประเทศไทย เกี่ยวกับพระแม่คงคา ที่เรารู้จักกันเป็นอย่างคือ พระแม่คงคาที่เกี่ยวข้องกัล ประเพณีวันลอยกระทง ซึ่งการลอยกระทง เป็นประเพณีพิธีอย่างหนึ่งที่ตรงกับ คืนวันเพ็ญเดือน 12 ประเพณีลอยกระทง เป็นประเพณีขอขมาธรรมชาติมาแต่ดึกดำบรรพ์ สืบเนื่องจากผู้คนสมัยก่อนก่อนมีการเลือกที่ตั้งของชุมชนใกล้กับแหล่งน้ำ เพื่อความสะดวกในการใช้น้ำเพื่อดำรงชีวิต และการเพาะปลูก ชาวบ้านอาศัยแหล่งน้ำในการทำการเกษตร แหล่งน้ำจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ประกอบกับความเชื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวบ้าน จึงเกิดเป็นพิธรกรรมในการไหว้ขอพร ขอขมาแหล่งน้ำ ทำให้หลายเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมา เมื่อชาวไทยได้รับอิทธิพลทางศาสนาและความเชื่อจากพราหมณ์ ฮินดูที่มี บูชาพระม่คงคาของชาวฮินดู ทำให้มีความสอดคล้องกับการบูชาแหล่งน้ำชาวไทย จึงกลายเป็นประเพณีการบูชาพระแม่คงคา และที่เรียกว่า ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า “พิธีจองเปรียญ” หรือ “การลอยพระประทีป” และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของ ประเพณีลอยกระทง

การลอยกระทง เป็นการลอยสิ่งที่ไม่จมน้ำ จุดธูปเทียนปักลงบนสิ่งประดิษฐ์เป็นรูปต่าง ๆ เช่น กระทงเรือ ดอกบัว ฯลฯ แล้วนำไปปล่อยลงให้ลอยไปตามลำน้ำ ในเมืองไทย มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป

ความเชื่อเรื่องการบูชาพระแม่คงคา

พระแม่คงคาตามความเชื่อชาวอินเดีย

พระแม่คงคา ในความเชื่อของอินเดีย (ผู้นับถือศาสนาฮินดู) จะเน้นไปด้านการไถ่บาป เครื่องชำระบาป ของแม่น้ำคงคา และยมนา โดยการใช้น้ำอาบ ล้าง และร่วมในพิธีต่างๆ เพื่อบูชาพระแม่คงคา หรือเป็นสื่อกับเทพเจ้าองค์อื่นๆ

พระแม่คงคาตามความเชื่อชาวจีน

พระแม่คงคาในประเทศจีน จะเป็นเทพเจ้าผู้ให้ความช่วยเหลือจากปัญหาเรื่องน้ำ แต่ชาวจีนใช้คำว่า เจ้าคงคา และเรียก เจ้าคงคา ว่า ฮ้อแปะ ซึ่ง ฮ้อ แปลว่า แม่น้ำ แปะ คือ อาเปะหรือคุณลุง แสดงว่า เจ้าแม่น้ำหรือเจ้าคงคาเป็นบุรุษไม่ใช่พระแม่คงคาอย่างที่ชาวไทยหรือชาวอินเดียนับถือ

ตำนาน เจ้าคงคา หรือ ฮ้อแปะ ถูกผูกไว้กับแม่น้ำฮวงโห โยงเรื่องถึงเทพเจ้าผู้เปิดภูเขา ซึ่งสมัยเป็นมนุษย์ท่านคือ กษัตริย์อู๊ ภาษาจีนกลาง เรียกท่านว่า ต้าหวี่ แต้จิ๋วเรียกว่า หยู,อู๊,อู้ หรือไตัอู้ หรือ แฮอู้ มีเรื่องราวเล่าว่า ขณะไต้อู้ได้กำลังวิเคราะห์สถานการนำท่วมใหญ่ ที่แม่น้ำฮวงโห้ว พลันนั้นมีชายร่างปลากล่าวแก่ไต้อู้ว่า ท่านคือ ฮ้อแปะ อยากจะช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วม

ได้ใช้แผนที่แม่น้ำที่เรียกว่า ฮ้อโต้ว มาช่วยในการหาสาเหตุที่น้ำท่วม แล้วก็ดำน้ำลงไป ฮ้อแปะเป็นเจ้าคงคาที่บางแห่งมีชื่อเรียกว่า ปิ่งอี๊ เปียอี๊ ได้เกิดอุบัติเหตุจมน้ำตายขณะที่ข้ามแม่น้ำฮวงโห้ว แต่ด้วยความที่เป็นสามัญชน เปี๊ยอี๊เป็นคนใจดีก็ได้เป็นเทวดา เง็กเซียนฮ่องเต้ได้บัญชาให้เป็นเจ้าคงคาที่ดูแลแม่น้ำ เพื่อเป็นที่ลำลือถึงความศักดิ์ของเจ้าคงคา

ได้มีเรื่องเล่าในราชวงศ์ถังว่าขุนพลโป่วจื้องี้ได้ถูกส่งให้ไปดูแลพื้นที่ในลุ่มฮวงโห้ว วันหนึ่งแม่เกิดน้ำท่วม ขุนพลโป่วจื้องี้ได้ขอพรให้เจ้าคงคาคอยช่วยให้น้ำหายท่วมจะยกลูกสาวของตนให้เจ้าคงคาแต่งงานด้วย ในไม่ช้าน้ำในแม่น้ำก็หายท่วม และลูกสาวของท่าน ขุนพลโป่วจื้องี้ ก็ได้หลับโดยไม่ตื่น ท่านได้จัดงานศพกับลูกและตั้งหุ่นบูชา ในตำนานของจีนได้มีการผนวกพญานาค และพญามังกรของจีน ยกย่องให้เป็นเจ้าแห่งคงคา และเปลี่ยนเล่งอ๋วงมีอำนาจควบคุมแหล่งน้ำทั้งหมด

พระแม่คงคาตามความเชื่อชาวไทย

ความเชื่อในประเทศไทยในการบูชาพระแม่คงคา กลับเน้นไปในทางที่การขอขมาพระแม่คงคาในประเพณี ลอยกระทง เนื่องจากการสำนึกในพระคุณแห่งน้ำ และพระแม่คงคา ก็เป็นดังผู้แทนของน้ำ การบูชาพระแม่คงคา นับเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์น้ำ ด้วยอีกทางหนึ่ง จนทำให้ประเพณีลอยกระทง โด่งดังไปทั่วโลก

บทสวดคาถาบูชาพระแม่คงคา

การสวดบูชาขอพร ขอขมาพระแม่คงคาส่วนใหญ่ชาวไทยหรือชาวพุทธ กระทำกันปีละครั้งในเทศกาลวันลอยกระทง พระแม่คงคา เทพีแห่งสายน้ำ ผู้ชำระล้างความชั่วให้กับมนุษย์ เป็น เทพแห่งการให้อภัย และการทำให้บริสุทธิ์ การขอพร ขอขมาทำเพื่อความเจริญรุ่งเรือง ความเจริญก้าวหน้าของทุกๆก้าวที่ดำเนินต่อไปในอนาคต

โอม อัคคีคงคานัง วาโยอาโปธรณี นะ มะ พะ ทะ

ทุติยัมปิ อัคคีคงคานัง วาโยอาโปธรณี นะ มะ พะ ทะ

ตะติยัมปิ อัคคีคงคานัง วาโยอาโปธรณี นะ มะ พะ ทะ

คำถวายกระทง คำอธิษฐานขอพรพระแม่คงคา วันลอยกระทง

คำถวายกระทง คำอธิษฐานขอพรพระแม่คงคา วันลอยกระทง
คำถวายกระทง คำอธิษฐานขอพรพระแม่คงคา วันลอยกระทง

(นะโม 3 จบ)

มะยัง อิมินา ปะทีเปนะ อะสุกายะ นัมมะทายะ นะทิยา ปุลิเน ฐิตัง มุนิโน ปาทะวะลัญชัง อะภิปูเชมะ อะยัง ปะทีเปนะ มุนิโน ปาทะวะลัญชัสสะ ปูชา อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังวัตตะตุ

(คำแปลคำอธิษฐานสำหรับลอยกระทง) ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชา ซึ่งรอยพระพุทธบาท ที่ตั้งอยู่เหนือหาดทรายในแม่น้ำชื่อนัมมทานทีโน้น ด้วยประทีปนี้ กิริยาที่บูชารอยพระพุทธบาทด้วยประทีปนี้ ขอจงเป็นไปเพื่อประโยชน์ และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนาน เทอญ ฯ (ผู้กล่าวคำถวายไม่ต้องกล่าวว่า “สาธุ”)

คำขอขมาพระแม่คงคา วันลอยกระทง

คำอธิษฐาน คำขอขมาพระแม่คงคา วันลอยกระทง
คำอธิษฐาน คำขอขมาพระแม่คงคา วันลอยกระทง

สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต

คำขอขมาพระแม่คงคา วันลอยกระทง

ข้าแต่คงคา ลูกขอวันทา ด้วยประทีปกระทง พระแม่คงคา มีความเมตตา ต่อลูกสูงส่ง คือน้ำในกาย สามส่วนมั่นคง กายจึงยืนยง ชุ่มชื่นยืนนาน พระแม่คงคา กำเนิดจากฟ้า โปรยปรายลงมา เป็นกระแสธาร เกิดเป็นแม่น้ำ หลายนามขนาน ปิง, วัง, ยม, น่าน คือเจ้าพระยา ท่าจีน, ตาปี นครชัยศรี โขง, ชี, มูล, ละหาร ห้วยหนองคลองบึง จนถึงแก่งกว๊าน น้ำใต้บาดาล อีกทั้งประปา

ลูกลูกทั้งหลาย เดินทางขายค้า สำเร็จกิจจา คมนาคม นำมากินใช้ ได้ดั่งอารมณ์ ยามร้อนประพรม ชุ่มชื่นกายใจ ชำระมลทิน โสโครกทั้งสิ้น สะอาดสดใส ผุดผ่องพราวตา แลเลิศวิไล แม่น้ำรับไว้ สกปรกโสมม น้ำเสียเรือนชาน ซักผ้าล้างจาน เททิ้งทับถม ไหลลงคงคา ธาราระทม สารพิษสะสม เน่าคลุ้งฟุ้งไป

วันนี้วันเพ็ญ พระจันทร์ลอยเด่น เป็นศุภสมัย ลูกจัดกระทง ประสงค์จงใจ นำมากราบไหว้ พระแม่คงคา เทวาทรงฤทธิ์ ซึ่งสิงสถิต ทุกสายธารา ทั้งผีพรายน้ำ อย่าซ้ำโกรธา ลูกขอขมา อโหสิกรรม ทำกิจใดใด อุทกภัย อย่าได้เติมซ้ำ อย่าพบวิบัติ ข้องขัดระกำ อย่าให้ชอกช้ำ น้ำท่วมพสุธา อย่าให้สินทรัพย์ ต้องพลันย่อยยับ เพราะสายธารา อย่าให้ชีวิต ต้องปลิดชีวา พระแม่คงคา รับขมาลูก เทอญ

พิกัดไหว้พระแม่คงคา

ประเพณีวันลอยกระทง ปี 2564


ที่มา:

  • เว็บไซต์วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (th.wikipedia.org)



Leave a comment