นบพระนำพร บวรสถานพุทธปฏิมามงคล 2565 อีเว้นท์สายบุญ

นบพระนำพร บวรสถานพุทธปฏิมามงคล 2565

พุทธศาสนิกชนที่สนใจสักการะพระพุทธรูปวังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน : นบพระนำพร บวรสถานพุทธปฏิมามงคล 2565 ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งแต่วันนี้ – วันที่ 9 มกราคม 2565 เวลา 09.00 – 16.00 น. ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ

พระพุทธรูปสำคัญ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล

10 พระพุทธรูปวังหน้า ไหว้พระนามมงคล เสริมโชคลาภบารมี

พระพุทธรูปสำคัญ 10 องค์ ของประเทศไทย พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระประธาน อายุสมัยปลายพุทธศตวรรษที่ 20-21 เป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย-ล้านนา มีประวัติความเป็นมาว่า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (วังหน้ารัชกาลที่ 1) ทรงอัญเชิญมาจากเมืองเชียงใหม่เมื่อปี 2338 ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล

พระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระนอน วัดโพธิ์ กรุงเทพฯ

พระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ พระพุทธรูปปางไสยาสน์

พระพุทธไสยาสน์ พระพุทธรูปปางไสยาสน์

(พระนอน วัดโพธิ์)

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร

พระพุทธลักษณะพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน วัดโพธิ์)

พระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือเรียกกันว่า พระนอนวัดโพธิ์ เป็นพระพุทธรูปปางโปรดอสุรินทราหู หรือ พระปางไสยาสน์ (พระประจำวันอังคาร) ที่ประดิษฐานอยู่ ณ พระวิหารวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือที่เรียกกันว่า วัดโพธิ์ ซึ่งตั้งอยู่ติดกับพระบรมมหาราชวังด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นพระนอนที่มีขนาดยาวเป็นอันดับสามของประเทศไทย คือยาวถึงสองเส้นสามวา, รองลงมาจากพระนอนจักรสีห์ (ยาวสามเส้น สามวา สองศอก หนึ่งคืบ เจ็ดนิ้ว) และพระนอนวัดขุนอินทประมูล (ยาวสองเส้นห้าวา) อีกพิกัดไหว้พระประจำวันเกิด สำหรับท่านที่เกิดวันอังคาร

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อครั้งที่ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามทั้งวัด องค์พระก่อด้วยอิฐถือปูน ลงรักปิดทองทั้งองค์

พระบาทของพระพุทธไสยาสน์แต่ละข้าง กว้าง 1.5 เมตร ยาว 5 เมตร มีภาพมงคล 108 ประการ เป็นลวดลายประดับมุก ภาพมงคลแต่ละอย่างจะอยู่ในช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ล้อมรอบด้วยภาพกงจักร ซึ่งอยู่ตรงกลางพระบาท ทั้งสองข้างมีภาพเหมือนกัน

ประวัติพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน วัดโพธิ์)

พระพุทธไสยาสน์ ประดิษฐานอยู่ในวิหารหลังใหญ่ด้านถนนมหาราช ของ วัดโพธิ์ หรือวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดประจำรัชกาลที่ 1 สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)โดยฝีมือช่างสิบหมู่ ซึ่งหลวงพระองค์เจ้าลดาวัลย์ (กรมหมื่นภูมินทรภักดี) ทรงกำกับการก่อสร้างองค์พระเป็นปูนปั้นปิดทองเหลืองอร่ามทั้งองค์ ปางโปรดอสุรินทราหู หันพระพักตร์สู่ทิศตะวันออก พระเศียรสู่ทิศใต้อันเป็นทิศหัวนอน พระบาทสู่ทิศเหนือเป็นปลายเท้า ตรงตาม‘ตำราสีหไสยา’

เอกลักษณ์สำคัญคือ ลายมงคล 108 ประดับมุกที่พื้นพระบาทของพระไสยาสน์เพื่อให้ถูกต้องตาม‘ตำรามหาปุริสลักษณะ’อันได้แก่ ปราสาท หอยสังข์ ช้างแก้ว นก หงส์ ภูเขา เมฆ ฯลฯ ตรงกลางเป็นรูปกงจักร แสดงถึงพระบุญญาบารมีอันแรงกล้าโดยช่างได้ประดับลายมงคล ด้วยลวดลายศิลปะไทยผสมจีน ซึ่งผสานกันได้อย่างประณีตศิลป์ อันนับเป็นงานประดับมุกชิ้นเอกในสมัยรัตนโกสินทร์

ตำนานพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน วัดโพธิ์)

สถานที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน วัดโพธิ์)

สถานที่ประดิษฐานพระพุทธชินศรีมุนีนาถ พระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) จังหวัดกรุงเทพมหานคร

บทสวดบูชาพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน วัดโพธิ์)

บทสวด คาถาบูชาพระพุทธไสยาสน์ พระนอน วัดโพธิ์

งานประเพณีวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)

รูปภาพพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน วัดโพธิ์)

รูปภาพพระพุทธไสยาสน์

พระพุทธชินศรีมุนีนาถ วัดโพธิ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ พระประจำวันเสาร์

พระพุทธชินศรีมุนีนาถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ พระพุทธรูปปางนาคปรก

พระพุทธชินศรีมุนีนาถ พระพุทธรูปปางนาคปรก

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร

 

พระพุทธลักษณะพระพุทธชินศรีมุนีนาถ

พระพุทธชินศรีมุนีนาถ ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ พระชงฆ์ขวาวางอยู่เหนือพระชงฆ์ซ้าย แลเห็นฝ่าพระบาทขวาเพียงข้างเดียว ในขณะที่ฝ่าพระบาทซ้ายอยู่ใต้พระชานุขวา พระหัตถ์ทำปางมารวิชัย ลักษณะคือ พระหัตถ์ขวาวางอยู่หน้าพระชงฆ์ขวา พระหัตถ์ซ้ายวางอยู่เหนือพระเพลา พระองค์ประทับอยู่บนขนดนาคซ้อนกัน 4 ชั้น เบื้องหลังเป็นพังพานและเศียรนาค 7 เศียร และมีต้นจิกอยู่ถัดออกไปทางเบื้องหลัง

 

ประวัติพระพุทธชินศรีมุนีนาถ

พระพุทธชินศรีมุนีนาถ เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก (พระประจำวันเสาร์) พระประธาน ที่ประดิษฐาน ณ พระวิหารทิศตะวันตกมุขหน้า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ เดิมเป็นพระพุทธรูปขนาดหน้าตักสามศอกคืบสิบนิ้ว อัญเชิญมาจากเมืองลพบุรี ครั้นบูรณปฏิสังขรณ์แล้ว จึงประดิษฐานไว้เป็นพระประธานพระวิหารทิศตะวันตก และได้สร้างพญานาคแผลงฤทธิ์และต้นจิกไว้ด้านหลังพระประธานด้วย จึงเรียกว่า “พระนาคปรก” ดังปรากฏความใน จารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพนครั้งรัชกาลที่ 1 ว่า

“…พระพุทธรูปน่าตักสามศอกคืบสิบนิ้ว เชิญมาแต่ลพบุรีปติสังขรณ์เสรจ์แล้ว ประดิษฐานไว้ในพระวิหารทิศตะวันตกบันจุพระบรมธาตุ์ถวายพระนามว่าพระนาคปรก มีพญานาคแผลงฤทธิ์เลิกพั้งพานมีต้นจิกด้วยแลผนังนั้นเขียนเรื่องระเกษธาตุ์…”

พระพุทธรูปประธาน วิหารทิศตะวันตก เจตนาให้เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกมาแต่ครั้งรัชกาลที่ 1 พระองค์จึงถวายพระนามพระพุทธรูปว่า พระนาคปรก และสร้างพญานาคพร้อมด้วยต้นจิกประกอบเพิ่มเติม แม้ว่าต่อมาจะอัญเชิญพระพุทธชินศรี จากสุโขทัยมาประดิษฐานแทนพระพุทธรูปองค์เดิม แต่แนวคิดเรื่องการเป็นพระพุทธรูปนาคปรกก็มิได้สูญหายไป รัชกาลที่ 4 จึงถวายพระนามใหม่ว่า พระพุทธชินศรีมุนีนารถ อุรุคอาศนบัลลังก์ อุทธังทิศภาคนาคปรก ดิลกบพิตร ซึ่งย่อมมีเจตนาให้มีความหมายถึงพุทธประวัติ ตอนนาคปรกนั่นเอง

 

ตำนานพระพุทธชินศรีมุนีนาถ

 

สถานที่ประดิษฐานพระพุทธชินศรีมุนีนาถ

สถานที่ประดิษฐานพระพุทธชินศรีมุนีนาถ พระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) จังหวัดกรุงเทพมหานคร

 

บทสวดบูชาพระพุทธชินศรีมุนีนาถ

บทสวด คาถาบูชาพระพุทธชินศรีมุนีนาถ

 

งานประเพณีวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)

 

 

รูปภาพพระพุทธชินศรีมุนีนาถ

รูปภาพพระพุทธชินศรีมุนีนาถ

 

 

 

หลวงพ่อโสธร พระพุทธโสธร วัดโสธรวราราม แปดริ้ว ฉะเชิงเทรา พระประจำวันพฤหัสบดี

พระพุทธโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร ฉะเชิงเทรา พระพุทธรูปปางสมาธิ

หลวงพ่อโสธร หรือพระพุทธโสธร พระพุทธรูปปางสมาธิ

วัดโสธรวรารามวรวิหาร ฉะเชิงเทรา

 

พระพุทธลักษณะพระพุทธโสธร

หลวงพ่อโสธร หรือพระพุทธโสธร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ (พระประจำวันพฤหัสบดี) คือมีพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ พระชงฆ์ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้ายวางซ้อนกันอยู่บนพระเพลา มีส่วนสูง 6 ฟุต 7 นิ้ว พระเพลากว้าง 5 ฟุต 6 นิ้ว ปัจจุบันประดิษฐาน อยู่ในพระอุโบสถหลวง วัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา

ประวัติพระพุทธโสธร

ตามประวัติกล่าวว่า หลวงพ่อโสธรน่าจะประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธรฯ มาตั้งแต่ช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา ราวรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่2(เจ้าสามพระยา) หรือประมาณ 500-600 ปีมาแล้ว เป็นพระพุทธรูปหินทรายสมัยอยุธยาตอนต้น (อู่ทองรุ่นที่ 2) ประทับบนพุทธบังลังก์ 4 ชั้น ปูลาดด้วยผ้าทิพย์ ซึ่งเป็นรูปแบบพุทธศิลป์ที่นิยมกันมากในช่วงสมัยอยุธยาตอนปลาย รวมถึงพระพุทธรูปบริวารอีก 10 องค์ ที่ประดิษฐานรวมกันบนฐานชุกชี ซึ่งมีพุทธลักษณะแบบอยุธยา เช่นเดียวกันกับหลวงพ่อโสธร โดยพระพุทธรูป 2 ใน 10 องค์นั้น เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก สร้างขึ้นจากไม้มงคล มีพุทธลักษณะค่อนมาทางอยุธยาตอนปลาย ต่างจากพระพุทธรูปบริวารอีก 8 องค์ ที่สร้างขึ้นจากหินทราย ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในช่วงอยุธยาตอนต้น

ทำให้สันนิษฐานได้ว่าวัดโสธรฯ และองค์หลวงพ่อโสธร น่าจะตั้งอยู่บริเวณบ้านโสธรนี้มาเป็นเวลาช้านานแล้ว และมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ต่อมา ตามแต่ละยุค แต่ละสมัย ซึ่งเดิมที วัดนี้ก็ชื่อ วัดโสธร อยู่ก่อนตามชื่อคลองโสธร มานานแล้ว ไม่มีหลักฐานที่บอกว่าชื่อ วัดหงษ์ เพราะ เสาหงษ์หัก เลยชื่อ เสาทอน เพี้ยนมาเป็นโสธร ตามตำนานหลวงพ่อโสธร นิราศฉะเชิงเทราและโคลงนิราศปราจีนบุรี ที่แต่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เมื่อกวีเดินทางผ่านบ้านโสธร ก็กล่าวถึงเพียงวัดโสธรเท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึงตำนานหลวงพ่อโสธรแต่อย่างใด

ครั้น รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) พ.ศ. 2416 พระยาวิเศษฤๅไชย(ช้าง) เจ้าเมืองฉะเชิงเทรา ได้สร้างพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร และสร้างถนนดินจากหน้าเมืองมาวัดโสธร 26 เส้น นางมีภรรยาได้สร้างศาลาและขุดสระกึ่งกลางถนน สันนิฐานว่าการบูรณะครั้งนั้น ได้พอกปูนปั้นหลวงพ่อโสธรทำให้กลายเป็นพุทธศิลป์ล้านช้าง โดยกลุ่มช่างที่บูรณะมาจากเมืองพนมสารคาม หลังจากนั้นก็ได้ใช้พระอุโบสถเป็นที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา

 

ตำนานพระพุทธโสธร

ตาม ตำนานหลวงพ่อโสธรลอยน้ำ มานั้น สันนิฐานว่ามาจากกลุ่มชาวมอญ ที่มีภูมิลำเนาพักอาศัยบริเวณโดยรอบของวัดโสธร ที่นำตำนานพระลอยน้ำจากพระราชพงศาวดารเหนือ มาอธิบายประวัติหลวงพ่อโสธร

 

สถานที่ประดิษฐานพระพุทธโสธร

สถานที่ประดิษฐานพระพุทธโสธร พระอุโบสถหลวง วัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา

 

บทสวดบูชาหลวงพ่อโสธร

บทสวด คาถาบูชาหลวงพ่อโสธร

 

งานประเพณีวัดหลวงพ่อโสธร

ประเพณีงานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธรประจำปี มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมขนมธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น ภายในงานร่วมชมพิธีเปิดงานและชมขบวนความสวยงามของขบวนแห่องค์พุทธโสธร ทางน้ำ เพื่อร่วมนมัสการและขอพรจากองค์พระพุทธโสธรงานแห่ที่ยิ่งใหญ่ พร้อมร่วมนมัสการหลวงพ่อโสธร เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองและครอบครัว นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดนิทรรศการ ส่วนราชการ สินค้าราคาถูกจากบริษัท ห้างร้านมอเตอร์โชว์ การชมคอนเสิร์ตจากศิลปิน นักร้องชื่อดัง พร้อมกับซื้อสินค้าราคาถูก และชมการแสดงมหรสพอื่น ๆ อีกมากมายตลอดงาน งานเทศกาลนมัสการหลวงพ่อโสธร จัดขึ้นปีละ 3 ครั้ง โดยกำหนดวันทางจันทรคติตามลำดับ คือ

  1. งานเทศกาลกลางเดือน 5 ตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำจนถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 5 รวม 3 วัน
  2. งานเทศกาลกลางเดือน 12 ระหว่างวันขึ้น 12-15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 รวม 5 วัน
  3. งานเทศกาลตรุษจีน ระหว่างวันขึ้น 1-5 ค่ำ เดือน 3 รวม 5 วัน

 

รูปภาพหลวงพ่อโสธร

รูปภาพพระพุทธโสธร

 

 

 

พระประจำวันเสาร์ - พระประจำวันเกิด | พระ9วัด

พระประจำวันเสาร์ พระพุทธรูปปางนาคปรก

พระประจำวันเสาร์ พระพุทธรูปปางนาคปรก คาถา บทสวดมนต์บูชา พระประจำวันเสาร์ แบบย่อ สำหรับคนเกิดวันเสาร์ สวด ๑๐ จบ พิกัดไหว้พระประจำวันเสาร์ พระพุทธรูปปางนาคปรก และประวัติพระประจำวันเสาร์พระพุทธรูป

พระประจำวันศุกร์ - พระประจำวันเกิด | พระ9วัด

พระประจำวันศุกร์ พระพุทธรูปปางรำพึง

พระประจำวันศุกร์ พระพุทธรูปปางรำพึง คาถา บทสวดมนต์บูชา พระประจำวันศุกร์ แบบย่อ สำหรับคนเกิดวันศุกร์ สวด ๒๑ จบ พิกัดพระพุทธรูปปางรำพึง การเดินทางสักการะบูชาและประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูป

พระประจำวันพุธกลางคืน - พระประจำวันเกิด | พระ9วัด

พระประจำวันพุธ กลางคืน พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์

พระประจำวันพุธกลางคืน พระพุทธรูปปางป่าเลไยก์ คาถา บทสวดมนต์บูชา พระประจำวันพุธกลางคืน แบบย่อ สวด ๑๒ จบ พิกัดพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ (ปางปาลิไลยก์) การเดินทางสักการะบูชาและประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูป

พระประจำวันพุธกลางวัน - พระประจำวันเกิด | พระ9วัด

พระประจำวันพุธ กลางวัน พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร

พระประจำวันพุธกลางวัน พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร คาถา บทสวดมนต์บูชา พระประจำวันพุธกลางวัน แบบย่อ สวด ๑๗ จบ พิกัดพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร การเดินทางสักการะบูชาและประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูป

พระประจำวันอังคาร - พระประจำวันเกิด | พระ9วัด

พระประจำวันอังคาร พระพุทธรูปปางไสยาสน์

พระประจำวันอังคาร พระพุทธรูปปางไสยาสน์ คาถา บทสวดมนต์บูชา พระประจำวันอังคาร แบบย่อ สำหรับคนเกิดวันอังคาร สวด ๘ จบ พิกัดพระพุทธรูปปางไสยาสน์ การเดินทางสักการะบูชาและประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูป

0
Back to Top

ค้นหา รายการสินค้า

Product has been added to your cart