หลวงพ่อโสธร พระพุทธโสธร วัดโสธรวราราม แปดริ้ว ฉะเชิงเทรา พระประจำวันพฤหัสบดี

พระพุทธโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร ฉะเชิงเทรา พระพุทธรูปปางสมาธิ

หลวงพ่อโสธร หรือพระพุทธโสธร พระพุทธรูปปางสมาธิ

วัดโสธรวรารามวรวิหาร ฉะเชิงเทรา

 

พระพุทธลักษณะพระพุทธโสธร

หลวงพ่อโสธร หรือพระพุทธโสธร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ (พระประจำวันพฤหัสบดี) คือมีพระอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ พระชงฆ์ขวาทับพระชงฆ์ซ้าย พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้ายวางซ้อนกันอยู่บนพระเพลา มีส่วนสูง 6 ฟุต 7 นิ้ว พระเพลากว้าง 5 ฟุต 6 นิ้ว ปัจจุบันประดิษฐาน อยู่ในพระอุโบสถหลวง วัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา

ประวัติพระพุทธโสธร

ตามประวัติกล่าวว่า หลวงพ่อโสธรน่าจะประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธรฯ มาตั้งแต่ช่วงต้นกรุงศรีอยุธยา ราวรัชสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่2(เจ้าสามพระยา) หรือประมาณ 500-600 ปีมาแล้ว เป็นพระพุทธรูปหินทรายสมัยอยุธยาตอนต้น (อู่ทองรุ่นที่ 2) ประทับบนพุทธบังลังก์ 4 ชั้น ปูลาดด้วยผ้าทิพย์ ซึ่งเป็นรูปแบบพุทธศิลป์ที่นิยมกันมากในช่วงสมัยอยุธยาตอนปลาย รวมถึงพระพุทธรูปบริวารอีก 10 องค์ ที่ประดิษฐานรวมกันบนฐานชุกชี ซึ่งมีพุทธลักษณะแบบอยุธยา เช่นเดียวกันกับหลวงพ่อโสธร โดยพระพุทธรูป 2 ใน 10 องค์นั้น เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก สร้างขึ้นจากไม้มงคล มีพุทธลักษณะค่อนมาทางอยุธยาตอนปลาย ต่างจากพระพุทธรูปบริวารอีก 8 องค์ ที่สร้างขึ้นจากหินทราย ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในช่วงอยุธยาตอนต้น

ทำให้สันนิษฐานได้ว่าวัดโสธรฯ และองค์หลวงพ่อโสธร น่าจะตั้งอยู่บริเวณบ้านโสธรนี้มาเป็นเวลาช้านานแล้ว และมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ต่อมา ตามแต่ละยุค แต่ละสมัย ซึ่งเดิมที วัดนี้ก็ชื่อ วัดโสธร อยู่ก่อนตามชื่อคลองโสธร มานานแล้ว ไม่มีหลักฐานที่บอกว่าชื่อ วัดหงษ์ เพราะ เสาหงษ์หัก เลยชื่อ เสาทอน เพี้ยนมาเป็นโสธร ตามตำนานหลวงพ่อโสธร นิราศฉะเชิงเทราและโคลงนิราศปราจีนบุรี ที่แต่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เมื่อกวีเดินทางผ่านบ้านโสธร ก็กล่าวถึงเพียงวัดโสธรเท่านั้น ไม่ได้กล่าวถึงตำนานหลวงพ่อโสธรแต่อย่างใด

ครั้น รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) พ.ศ. 2416 พระยาวิเศษฤๅไชย(ช้าง) เจ้าเมืองฉะเชิงเทรา ได้สร้างพระอุโบสถวัดโสธรวรารามวรวิหาร และสร้างถนนดินจากหน้าเมืองมาวัดโสธร 26 เส้น นางมีภรรยาได้สร้างศาลาและขุดสระกึ่งกลางถนน สันนิฐานว่าการบูรณะครั้งนั้น ได้พอกปูนปั้นหลวงพ่อโสธรทำให้กลายเป็นพุทธศิลป์ล้านช้าง โดยกลุ่มช่างที่บูรณะมาจากเมืองพนมสารคาม หลังจากนั้นก็ได้ใช้พระอุโบสถเป็นที่ประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา

 

ตำนานพระพุทธโสธร

ตาม ตำนานหลวงพ่อโสธรลอยน้ำ มานั้น สันนิฐานว่ามาจากกลุ่มชาวมอญ ที่มีภูมิลำเนาพักอาศัยบริเวณโดยรอบของวัดโสธร ที่นำตำนานพระลอยน้ำจากพระราชพงศาวดารเหนือ มาอธิบายประวัติหลวงพ่อโสธร

 

สถานที่ประดิษฐานพระพุทธโสธร

สถานที่ประดิษฐานพระพุทธโสธร พระอุโบสถหลวง วัดโสธรวราราม จังหวัดฉะเชิงเทรา

 

บทสวดบูชาหลวงพ่อโสธร

บทสวด คาถาบูชาหลวงพ่อโสธร

 

งานประเพณีวัดหลวงพ่อโสธร

ประเพณีงานนมัสการหลวงพ่อพุทธโสธรประจำปี มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมขนมธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมท้องถิ่น ภายในงานร่วมชมพิธีเปิดงานและชมขบวนความสวยงามของขบวนแห่องค์พุทธโสธร ทางน้ำ เพื่อร่วมนมัสการและขอพรจากองค์พระพุทธโสธรงานแห่ที่ยิ่งใหญ่ พร้อมร่วมนมัสการหลวงพ่อโสธร เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองและครอบครัว นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดนิทรรศการ ส่วนราชการ สินค้าราคาถูกจากบริษัท ห้างร้านมอเตอร์โชว์ การชมคอนเสิร์ตจากศิลปิน นักร้องชื่อดัง พร้อมกับซื้อสินค้าราคาถูก และชมการแสดงมหรสพอื่น ๆ อีกมากมายตลอดงาน งานเทศกาลนมัสการหลวงพ่อโสธร จัดขึ้นปีละ 3 ครั้ง โดยกำหนดวันทางจันทรคติตามลำดับ คือ

  1. งานเทศกาลกลางเดือน 5 ตั้งแต่วันขึ้น 14 ค่ำจนถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 5 รวม 3 วัน
  2. งานเทศกาลกลางเดือน 12 ระหว่างวันขึ้น 12-15 ค่ำ และวันแรม 1 ค่ำ เดือน 12 รวม 5 วัน
  3. งานเทศกาลตรุษจีน ระหว่างวันขึ้น 1-5 ค่ำ เดือน 3 รวม 5 วัน

 

รูปภาพหลวงพ่อโสธร

รูปภาพพระพุทธโสธร

 

 

 

พระประจำวันเสาร์ - พระประจำวันเกิด | พระ9วัด

พระประจำวันเสาร์ พระพุทธรูปปางนาคปรก

พระประจำวันเสาร์ พระพุทธรูปปางนาคปรก คาถา บทสวดมนต์บูชา พระประจำวันเสาร์ แบบย่อ สำหรับคนเกิดวันเสาร์ สวด ๑๐ จบ พิกัดไหว้พระประจำวันเสาร์ พระพุทธรูปปางนาคปรก และประวัติพระประจำวันเสาร์พระพุทธรูป

พระประจำวันศุกร์ - พระประจำวันเกิด | พระ9วัด

พระประจำวันศุกร์ พระพุทธรูปปางรำพึง

พระประจำวันศุกร์ พระพุทธรูปปางรำพึง คาถา บทสวดมนต์บูชา พระประจำวันศุกร์ แบบย่อ สำหรับคนเกิดวันศุกร์ สวด ๒๑ จบ พิกัดพระพุทธรูปปางรำพึง การเดินทางสักการะบูชาและประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูป

พระประจำวันพุธกลางคืน - พระประจำวันเกิด | พระ9วัด

พระประจำวันพุธ กลางคืน พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์

พระประจำวันพุธกลางคืน พระพุทธรูปปางป่าเลไยก์ คาถา บทสวดมนต์บูชา พระประจำวันพุธกลางคืน แบบย่อ สวด ๑๒ จบ พิกัดพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ (ปางปาลิไลยก์) การเดินทางสักการะบูชาและประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูป

พระประจำวันพุธกลางวัน - พระประจำวันเกิด | พระ9วัด

พระประจำวันพุธ กลางวัน พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร

พระประจำวันพุธกลางวัน พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร คาถา บทสวดมนต์บูชา พระประจำวันพุธกลางวัน แบบย่อ สวด ๑๗ จบ พิกัดพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร การเดินทางสักการะบูชาและประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูป

พระประจำวันอังคาร - พระประจำวันเกิด | พระ9วัด

พระประจำวันอังคาร พระพุทธรูปปางไสยาสน์

พระประจำวันอังคาร พระพุทธรูปปางไสยาสน์ คาถา บทสวดมนต์บูชา พระประจำวันอังคาร แบบย่อ สำหรับคนเกิดวันอังคาร สวด ๘ จบ พิกัดพระพุทธรูปปางไสยาสน์ การเดินทางสักการะบูชาและประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูป

พระประจำวันจันทร์ - พระประจำวันเกิด | พระ9วัด

พระประจำวันจันทร์ พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร

พระประจำวันจันทร์ พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร คาถา บทสวดมนต์บูชา พระประจำวันจันทร์ แบบย่อ สำหรับคนเกิดวันจันทร์ สวด ๑๕ จบ พิกัดพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร การเดินทางสักการะบูชาและประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูป

พระประจำวันอาทิตย์ - พระประจำวันเกิด | พระ9วัด

พระประจำวันอาทิตย์ พระพุทธรูปปางถวายเนตร

พระประจำวันอาทิตย์ พระพุทธรูปปางถวายเนตร คาถา บทสวดมนต์บูชา พระประจำวันอาทิตย์ แบบย่อ สำหรับคนเกิดวันอาทิตย์ สวด ๖ จบ พิกัดพระพุทธรูปปางถวายเนตร การเดินทางสักการะบูชาและประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูป

พระพุทธรูปประจำวันเกิด ทั้ง 7 วัน

พระประจำวันเกิด ทั้ง 7 วัน

พระประจำวันเกิด พระพุทธรูปปางต่างๆบูชาประจำวันเกิด มีคาถาบูชาพระประจำวันเกิดแต่ละวันเกิดชัดเจน รวมคาถาบูชาพระประจำวันเกิด ทั้ง 7 วัน สวดเพื่อความเป็นสิริมงคล เสริมบารมี ป้องกันภัย แคล้วคลาด เสริมจากการทำบุญ และการทำความดี

พระประจำวันพฤหัสบดี - พระประจำวันเกิด | พระ9วัด

พระประจำวันพฤหัสบดี พระพุทธรูปปางสมาธิ

พระประจำวันพฤหัสบดี พระพุทธรูปปางสมาธิหรือพระปางตรัสรู้ คาถา บทสวดมนต์บูชา พระประจำวันพฤหัสบดี แบบย่อ คนเกิดวันพฤหัสบดี สวด ๑๙ จบ พิกัดพระพุทธรูปปางสมาธิหรือพระปางตรัสรู้ การเดินทางสักการะบูชาและประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูป

0
Back to Top

ค้นหา รายการสินค้า

Product has been added to your cart