หลวงปู่แสง-ญาณวโร-พระอาจารย์แสง-จันดะโชโต-วัดป่ามโนรมย์สมประสงค์-อำนาจเจริญ

หลวงปู่แสง ญาณวโร (พระอาจารย์แสง จันดะโชโต)

หลวงปู่แสง ญาณวโร หรือ “พระอาจารย์แสง จันดะโชโต” พระป่าสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ภาคอีสาน “พระอาจารย์แสง จันดะโชโต” มีความหมายว่า ผู้ที่รุ่งเรือง ปัจจุบันหลวงปู่แสง ญาณวโร จำพรรษาที่ วัดป่ามโนรมย์สมประสงค์ (วัดภูทิดสา) บ้านห้วยฆ้อง ต.หนองข่า อ.ปทุมราชวงศา จ.อำนาจเจริญ รวมพระเครื่องฟบูชาพระหลวงปู่แสง ญาณวโร

สวรรค์ 6 ชั้น เทวภูมิ ฉกามาพจร สังสารวัฏภูมิ 31 ภูมิ

สวรรค์ 6 ชั้น เทวภูมิเทวดา เรียกว่า ฉกามาพจร

ทางพุทธศาสนา เรื่องคติจักรวาลวิทยา ฉกามาพจร คือสวรรค์ 6 ชั้นที่อยู่ในกามภูมิ คือ สวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี สวรรค์ชั้นนิมมานรดี สวรรค์ชั้นดุสิต สวรรค์ชั้นยามา สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา หากนับรวมกับมนุษยภูมิ เรียกว่า กามสุคติภูมิ 7

สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระรูป พระคติธรรมวันขึ้นปีใหม่ 2565

สมเด็จพระสังฆราช ประทานพระรูป พระคติธรรมวันขึ้นปีใหม่ 2565

พรปีใหม่ 2565 จากสมเด็จพระสังฆราชฯ โพสต์รูปภาพพร้อมข้อความว่า เนื่องในอภิลักขิตสมัยขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๕ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โปรดประทานพระรูป พร้อมลายพระหัตถ์เชิญพระพุทธภาษิต เป็นพระคติธรรม ประทานพรสำหรับความสุขปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๖๕ ขอท่านจงเจริญเมตตาจิต แบ่งปัน เพื่อความผาสุกร่วมกันของประชาชาติไทย เทอญ

นบพระนำพร บวรสถานพุทธปฏิมามงคล 2565 อีเว้นท์สายบุญ

นบพระนำพร บวรสถานพุทธปฏิมามงคล 2565

พุทธศาสนิกชนที่สนใจสักการะพระพุทธรูปวังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน : นบพระนำพร บวรสถานพุทธปฏิมามงคล 2565 ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งแต่วันนี้ – วันที่ 9 มกราคม 2565 เวลา 09.00 – 16.00 น. ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการ

พระพุทธรูปสำคัญ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล

10 พระพุทธรูปวังหน้า ไหว้พระนามมงคล เสริมโชคลาภบารมี

พระพุทธรูปสำคัญ 10 องค์ ของประเทศไทย พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระประธาน อายุสมัยปลายพุทธศตวรรษที่ 20-21 เป็นพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย-ล้านนา มีประวัติความเป็นมาว่า สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท (วังหน้ารัชกาลที่ 1) ทรงอัญเชิญมาจากเมืองเชียงใหม่เมื่อปี 2338 ประดิษฐาน ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล

วันวิสาขบูชา ประสูติ ตรัสรู้ ปรินินิพพาน วันสำคัญทางพุทธศาสนา

วันวิสาขบูชา 3 เหตุการณ์สำคัญ วันเพ็ญเดือนวิสาขะ

วันสำคัญทางพุทธศาสนา ที่เกิดเหตุการณ์สำคัญทางพุทธศาสนา คือ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า ณ วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 หรือวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ (ต่างปีกัน)

วันสำคัญทางพุทธศาสนา ศาสนาพุทธ

วันสำคัญทางศาสนาพุทธ

วันสำคัญทางพุทธศาสนา วันธรรมสวนะ วันพระ, วันวิสาขบูชา, วันอาสาฬหบูชา, วันมาฆบูชา, วันเข้าพรรษา, วันออกพรรษา, วันอัฏฐมีบูชา กำหนดตามปฏิทินจันทรคติ เป็นวันที่เคยมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นเมื่อครั้งพุทธกาล และพิธีสวดมนต์ข้ามปี

วันพระ วันธรรมสวนะ วันอุโบสถ วันสำคัญทางพุทธศาสนา

วันพระ หรือวันธรรมสวนะ

ประวัติ กิจกรรมและความสำคัญของวันพระ วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ วันประชุมของพุทธศาสนิกชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาหรือที่เรียกว่า “วันธรรมสวนะ” อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม)

พระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม พระนอน วัดโพธิ์ กรุงเทพฯ

พระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ พระพุทธรูปปางไสยาสน์

พระพุทธไสยาสน์ พระพุทธรูปปางไสยาสน์

(พระนอน วัดโพธิ์)

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร

พระพุทธลักษณะพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน วัดโพธิ์)

พระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือเรียกกันว่า พระนอนวัดโพธิ์ เป็นพระพุทธรูปปางโปรดอสุรินทราหู หรือ พระปางไสยาสน์ (พระประจำวันอังคาร) ที่ประดิษฐานอยู่ ณ พระวิหารวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือที่เรียกกันว่า วัดโพธิ์ ซึ่งตั้งอยู่ติดกับพระบรมมหาราชวังด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นพระนอนที่มีขนาดยาวเป็นอันดับสามของประเทศไทย คือยาวถึงสองเส้นสามวา, รองลงมาจากพระนอนจักรสีห์ (ยาวสามเส้น สามวา สองศอก หนึ่งคืบ เจ็ดนิ้ว) และพระนอนวัดขุนอินทประมูล (ยาวสองเส้นห้าวา) อีกพิกัดไหว้พระประจำวันเกิด สำหรับท่านที่เกิดวันอังคาร

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อครั้งที่ทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามทั้งวัด องค์พระก่อด้วยอิฐถือปูน ลงรักปิดทองทั้งองค์

พระบาทของพระพุทธไสยาสน์แต่ละข้าง กว้าง 1.5 เมตร ยาว 5 เมตร มีภาพมงคล 108 ประการ เป็นลวดลายประดับมุก ภาพมงคลแต่ละอย่างจะอยู่ในช่องสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ล้อมรอบด้วยภาพกงจักร ซึ่งอยู่ตรงกลางพระบาท ทั้งสองข้างมีภาพเหมือนกัน

ประวัติพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน วัดโพธิ์)

พระพุทธไสยาสน์ ประดิษฐานอยู่ในวิหารหลังใหญ่ด้านถนนมหาราช ของ วัดโพธิ์ หรือวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วัดประจำรัชกาลที่ 1 สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3)โดยฝีมือช่างสิบหมู่ ซึ่งหลวงพระองค์เจ้าลดาวัลย์ (กรมหมื่นภูมินทรภักดี) ทรงกำกับการก่อสร้างองค์พระเป็นปูนปั้นปิดทองเหลืองอร่ามทั้งองค์ ปางโปรดอสุรินทราหู หันพระพักตร์สู่ทิศตะวันออก พระเศียรสู่ทิศใต้อันเป็นทิศหัวนอน พระบาทสู่ทิศเหนือเป็นปลายเท้า ตรงตาม‘ตำราสีหไสยา’

เอกลักษณ์สำคัญคือ ลายมงคล 108 ประดับมุกที่พื้นพระบาทของพระไสยาสน์เพื่อให้ถูกต้องตาม‘ตำรามหาปุริสลักษณะ’อันได้แก่ ปราสาท หอยสังข์ ช้างแก้ว นก หงส์ ภูเขา เมฆ ฯลฯ ตรงกลางเป็นรูปกงจักร แสดงถึงพระบุญญาบารมีอันแรงกล้าโดยช่างได้ประดับลายมงคล ด้วยลวดลายศิลปะไทยผสมจีน ซึ่งผสานกันได้อย่างประณีตศิลป์ อันนับเป็นงานประดับมุกชิ้นเอกในสมัยรัตนโกสินทร์

ตำนานพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน วัดโพธิ์)

สถานที่ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน วัดโพธิ์)

สถานที่ประดิษฐานพระพุทธชินศรีมุนีนาถ พระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) จังหวัดกรุงเทพมหานคร

บทสวดบูชาพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน วัดโพธิ์)

บทสวด คาถาบูชาพระพุทธไสยาสน์ พระนอน วัดโพธิ์

งานประเพณีวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)

รูปภาพพระพุทธไสยาสน์ (พระนอน วัดโพธิ์)

รูปภาพพระพุทธไสยาสน์

พระพุทธชินศรีมุนีนาถ วัดโพธิ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ พระประจำวันเสาร์

พระพุทธชินศรีมุนีนาถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ พระพุทธรูปปางนาคปรก

พระพุทธชินศรีมุนีนาถ พระพุทธรูปปางนาคปรก

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร

 

พระพุทธลักษณะพระพุทธชินศรีมุนีนาถ

พระพุทธชินศรีมุนีนาถ ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ พระชงฆ์ขวาวางอยู่เหนือพระชงฆ์ซ้าย แลเห็นฝ่าพระบาทขวาเพียงข้างเดียว ในขณะที่ฝ่าพระบาทซ้ายอยู่ใต้พระชานุขวา พระหัตถ์ทำปางมารวิชัย ลักษณะคือ พระหัตถ์ขวาวางอยู่หน้าพระชงฆ์ขวา พระหัตถ์ซ้ายวางอยู่เหนือพระเพลา พระองค์ประทับอยู่บนขนดนาคซ้อนกัน 4 ชั้น เบื้องหลังเป็นพังพานและเศียรนาค 7 เศียร และมีต้นจิกอยู่ถัดออกไปทางเบื้องหลัง

 

ประวัติพระพุทธชินศรีมุนีนาถ

พระพุทธชินศรีมุนีนาถ เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก (พระประจำวันเสาร์) พระประธาน ที่ประดิษฐาน ณ พระวิหารทิศตะวันตกมุขหน้า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ เดิมเป็นพระพุทธรูปขนาดหน้าตักสามศอกคืบสิบนิ้ว อัญเชิญมาจากเมืองลพบุรี ครั้นบูรณปฏิสังขรณ์แล้ว จึงประดิษฐานไว้เป็นพระประธานพระวิหารทิศตะวันตก และได้สร้างพญานาคแผลงฤทธิ์และต้นจิกไว้ด้านหลังพระประธานด้วย จึงเรียกว่า “พระนาคปรก” ดังปรากฏความใน จารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพนครั้งรัชกาลที่ 1 ว่า

“…พระพุทธรูปน่าตักสามศอกคืบสิบนิ้ว เชิญมาแต่ลพบุรีปติสังขรณ์เสรจ์แล้ว ประดิษฐานไว้ในพระวิหารทิศตะวันตกบันจุพระบรมธาตุ์ถวายพระนามว่าพระนาคปรก มีพญานาคแผลงฤทธิ์เลิกพั้งพานมีต้นจิกด้วยแลผนังนั้นเขียนเรื่องระเกษธาตุ์…”

พระพุทธรูปประธาน วิหารทิศตะวันตก เจตนาให้เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรกมาแต่ครั้งรัชกาลที่ 1 พระองค์จึงถวายพระนามพระพุทธรูปว่า พระนาคปรก และสร้างพญานาคพร้อมด้วยต้นจิกประกอบเพิ่มเติม แม้ว่าต่อมาจะอัญเชิญพระพุทธชินศรี จากสุโขทัยมาประดิษฐานแทนพระพุทธรูปองค์เดิม แต่แนวคิดเรื่องการเป็นพระพุทธรูปนาคปรกก็มิได้สูญหายไป รัชกาลที่ 4 จึงถวายพระนามใหม่ว่า พระพุทธชินศรีมุนีนารถ อุรุคอาศนบัลลังก์ อุทธังทิศภาคนาคปรก ดิลกบพิตร ซึ่งย่อมมีเจตนาให้มีความหมายถึงพุทธประวัติ ตอนนาคปรกนั่นเอง

 

ตำนานพระพุทธชินศรีมุนีนาถ

 

สถานที่ประดิษฐานพระพุทธชินศรีมุนีนาถ

สถานที่ประดิษฐานพระพุทธชินศรีมุนีนาถ พระอุโบสถ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) จังหวัดกรุงเทพมหานคร

 

บทสวดบูชาพระพุทธชินศรีมุนีนาถ

บทสวด คาถาบูชาพระพุทธชินศรีมุนีนาถ

 

งานประเพณีวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)

 

 

รูปภาพพระพุทธชินศรีมุนีนาถ

รูปภาพพระพุทธชินศรีมุนีนาถ

 

 

 

0
Back to Top

ค้นหา รายการสินค้า

Product has been added to your cart