บูชาท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร) ท้าวจตุโลกบาล ปกครองทิศเหนือ สวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา
- ลักษณะท้าวเวสสุวรรณ
- ประวัติท้าวเวสสุวรรณ
- ความเชื่อท้าวเวสสุวรรณ
- บทสวดคาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ
- รูปภาพท้าวเวสสุวรรณ
ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัน) หรือในภาษาพราหมณ์เรียกว่า “ท้าวกุเวร” ถ้าในพระพุทธศาสนาจะเรียก “พระไพศรพณ์” เป็นอธิบดีแห่งอสูร หรือเจ้าแห่งภูตผีปีศาจทั้งหลายโดย ท้าวเวสสุวรรณ เป็นหนึ่งในท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ผู้คุ้มครองดูแลโลกมนุษย์ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ประทับทางทิศเหนือมีอสูร รากษส และภูตผีปีศาจเป็นบริวารพร้อมถือว่าท่านเป็นหัวหน้าของท้าวจตุโลกบาล อันประกอบไปด้วย “พระอินทร์” (ท้าวธตรฐ) ปกครองโลกด้านทิศตะวันออก , “พระยม” (ท้าววิรุฬหก) ปกครองโลกด้านทิศใต้ และ “พระวรุณ” (ท้าววิรูปักษ์) ปกครองโลกด้านทิศตะวันตก
ลักษณะท้าวเวสสุวรรณ(ท้าวเวสสุวัณ)
ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวเวสสุวัณ) หรือท้าวกุเวร มีลักษณะแบบยักษ์มีกายสีทองหรือสีเขียว มือขวาถือกระบองประดับยอดด้วยดวงแก้วเป็นอาวุธ มือซ้ายแสดงท่ามุทรา สวมศิราภรณ์ทรงมงกุฎยอดน้ำเต้า สวมกรองศอ สวมเกราะเสื้อแขนสั้นสีน้ำเงินขาบเข้มแต่งกนกปลายแขนเสื้อแทนพาหุรัด นุ่งผ้าลายดอกพื้นเขียว กำไลมือ ข้อเท้า เป็นเครื่องตกแต่ง สนับเพลาลายดอกพื้นสีส้มอ่อน
ตำนาน ประวัติความเป็นมาท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวจาตุมหาราช)
จากตำนานอาฏานาฏิยปริตร อาฏานาฏิยสูตร กล่าวไว้ว่า ในอดีตกาล เมื่อพุทธเจ้าเสด็จมาประทับ ณ เขาคิชฌกูฏ กรุงราชคฤห์ ท้าวจาตุมหาราช คือ ท้าวธตรฏฐ์ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักษ์ และท้าวเวสสุวรรณ(ท้าวกุเวร) พร้อมด้วยบริวารอันได้แก่ คนธรรพ์ กุมภัณฑ์ นาค และยักษ์ มาเฝ้าพระพุทธเจ้า
ท้าวจาตุมหาราช หรือที่รู้จักกันว่า ท้าวจตุโลกบาล( ผู้รักษาโลกทั้ง 4) ซึ่งเป็นผู้เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เมื่อได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ท้าวเวสสุวรรณ(ท้าวกุเวร) ได้กราบทูลว่า อมนุษย์ที่เป็นบริวารของท้าวจตุโลกบาล มีบางพวกที่เลื่อมใสพระพุทธองค์ บางพวกก็ไม่เลื่อมใสพระพุทธองค์ เพราะพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม โดยให้ถือศีล 5 คือ ให้ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ ละเว้นจากการลักทรัพย์ ละเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ละเว้นจากการพูดเท็จ และละเว้นจากการเสพสุรา แต่เหล่าบริวาลของท้าวจตุโลกบาลรวมถึงมนุษย์ ยังละเว้นสิ่งเหล่านั้นมิได้ จึงไม่ค่อยเลื่อมใส พระสาวกของพระพุทธองค์ที่ประกอบวิปัสสนาธุระ ไปบำเพ็ญสมณธรรมในเสนาสนะป่าเปลี่ยว เมื่อไม่มีสิ่งป้องกัน อมนุษย์ก็จะรบกวนเบียดเบียนให้ลำบาก ขอให้พระองค์ทรงรับเอาเครื่องป้องกันรักษา คือ อาฏานาฏิยปริตรไว้ จะได้ประทานให้สาวกสวด จะทำให้อมนุษย์เลื่อมใส ไม่เบียดเบียนภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา และกลับจะช่วยคุ้มครองรักษาให้อยู่ผาสุข แล้วจึงกล่าว อาฏานาฏิยปริตร ขึ้นในเวลานั้นว่า วัปัสสิสสะ นะมัตถุ เป็นต้น
เมื่อพระพุทธองค์ทรงและรับโดยดุษณีภาพ ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร) จึงกราบทูลต่ออีกว่า ผู้ที่เจริญอาฏานาฏิยปริตรนี้ดีแล้ว อมนุษย์จะไม่ทำร้าย ถ้าอมนุษย์ยังฝืนกระทำจะแพ้ภัยตัวเอง จากนั้นพระพุทธเจ้าจึงนำสิ่งที่ท้าวเวสสุวรรณกราบทูลมาตรัสเล่าแก่ภิกษุทั้งหลาย ในภายหลังเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องกับท้าวจตุโลกบาลมีปรากฏอยู่ในหนังสือ โดยเฉพาะคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาและสถานที่ต่างๆ เช่น ยอดเขาทางด้านทิศตะวันตกที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี (เขาวัง) จ.เพชรบุรี ซึ่งเป็นที่ตั้งพระราชวังที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 รอบพระราชวังมีป้อมล้อมอยู่ทั้ง 4 ทิศ ทางทิศตะวันออกชื่อ ป้อมธตรฐป้องปก ทางทิศใต้ชื่อ ป้อมวิรุฬหกบริรักษ์ ทางทิศตะวันตกชื่อ ป้อมวิรูปักษ์ป้องกัน และทางทิศเหนือชื่อ ป้อมเวสสุวรรณรักษา
ความเชื่อเรื่องท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร)
พุทธศาสนา เชื่อว่าอดีตของท้าวเวสสุวรรณ เคยเป็นพราหมณ์ มีอาชีพขายหีบอ้อยจนร่ำรวย มีนิสัยใจบุญสุนทาน ชอบช่วยเหลือผู้ยากไร้ บุญกุศลนี้ส่งให้บุญที่ได้กระทำมาจนชั่วชีวิตแม้ได้มาเป็นยักษาแล้วก็ยังบำเพ็ญกิจกุศล รักษาศีลอย่างต่อเนื่องหลายพันปี กระนั้นเองจึงทำให้ “ท้าวเวสสุวรรณ” ได้รับพรจากพระอิศวร พระพรหม ประทานชื่อให้ว่า “ท้าวเวสสุวรรณ” อันหมายถึง พ่อค้าอันมีทรัพย์ และยังหมายถึง “เทพเจ้าแห่งความร่ำรวย” นั่นเอง
นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่ากล่าวว่า ท้าวเวสสุวรรณหรือเดิมชื่อ กุเวรพราหมณ์ ได้ยึดถือปฏิบัติแต่คุณความดีและกุศลบุญ ชาติถัดมาก็ได้เป็นกษัตริย์ครองกรุงราชคฤห์ อันมีพระนามว่า พระเจ้าพิมพิสาร ทั้งยังทรงเป็นพระสหายของเจ้าชายสิทธัตถะ โดยต่อมาเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้เสด็จมาโปรดพระเจ้าพิมพิสาร จนบรรลุเป็นโสดาบัน ขณะนั้นพระเจ้าพิมพิสารได้ถวายทานอย่างสม่ำเสมอ และยังถวายพระเวฬุวันมหาวิหารให้พระพุทธเจ้าประทับ จึงส่งผลให้ได้เป็นเทวดา
โบราณนิยมนำรูปท้าวเวสสุวรรณแขวนไว้เหนือเปลเด็กอ่อน รวมทั้งสร้างเป็นผ้ายันต์ และสลักบริเวณมีดของสัปเหร่อเพื่อป้องกันวิญญาณร้าย
ท้าวเวสสุวรรณในพุทธศาสนา
ท้าวเวสสุวรรณ ในพุทธศาสนา คือ “พระไพศรพณ์” พระไพศรพณ์ เป็นเทวดาผู้รักษาความยุติธรรมบนสวรรค์ พระหัตถ์ขวาถือตระบอง พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอหน้าอก แสวงการห้ามปรามมิให้เทวดาทำผิด ตามตำนานถือเป็นเทวดาองค์เดียวกับท้าวกุเวร หรือท้าเวสสุวรรณ ซึ่งถือว่าเป็นเทพแห่งขุมทรัพย์ เป็นมหาเทพแห่งความร่ำรวย มั่งคั่งในคัมภีร์โบราณได้กล่าวไว้ว่า
“ผู้ใดหวังความเจริญในลาภยศ ทรัพย์สินเงินทอง อำนาจวาสนาให้บูชาท้าวเวสสุวรรณ ท้าวกุเวร หรือพระไพศรพณ์”
ท้าวเวสสุวรรณ หรือพระไพศรพณ์ เป็นตราประจำจังหวัด
ตราประจำจังหวัดอุดรธานี เป็นรูปท้าวเวสสุวรรณ หรือท้าวกุเวร หรือพระไพศรพณ์ ซึ่งหมายถึงเทพยดาผู้คุ้มครองรักษาประจำทิศอุดร ลักษณะยืนถือกระบองเฝ้ารักษาเมือง ออกแบบโดยกรมศิลปากร ตั้งแต่ พ.ศ.2483
พระไพศรพณ์ เครื่องหมายราชการของอัยการ
คติการบูชาท้าวเวสสุวรรณในประเทศไทยมีอีกรูปแบบหนึ่งในทางพุทธศาสนา โดยเรียกเทพเจ้าหรือเทวดาองค์นี้ว่า พระไพศรพณ์ ตามนามในภาษาสันสกฤต ไวศฺรวณ มือขวาถือตะบอง มือซ้ายยกเสมอหน้าอกแสดงการห้ามปรามมิให้ (เทวดา)ทำผิด
เกี่ยวนื่องจากที่พระไพศรพณ์มีหน้าที่รักษาความยุติธรรมและความสงบเรียบร้อยบนสวรรค์ พระไพศรพณ์จึงถูกนำมาเป็นสัญลักษณ์ของอัยการมานาน คาดว่าตั้งแต่แรกตั้งกรมอัยการเมื่อกว่า ๑๐๐ ปีมาแล้ว เนื่องจากยกกระบัตร (ชื่อเรียกอัยการในสมัยโบราณ) หรืออัยการในปัจจุบันก็มีหน้าที่รักษาความยุติธรรมและกฎหมายเช่นเดียวกับหน้าที่ของพระไพศรพณ์บนสวรรค์ แต่ยังตรวจไม่พบหลักฐานว่าได้มีประกาศเป็นทางการให้ใช้รูปพระไพศรพณ์เป็นเครื่องหมายราชการของอัยการตั้งแต่เมื่อใด
ท้าวเวสสุวรรณโณ วัดจุฬามณี
ท้าวเวสสุวรรณโณ หรือ ท้าวเวสสุวรรณ วัดจุฬามณี เป็น 1 ใน 4 ของท้าวจตุโลกบาล ทำหน้าที่รักษาทิศทั้ง 4 ในสวรรค์ชั้นแรกบนสวรรค์ทั้ง 7 ชั้น โดยท่านเป็นเทพประจำทิศเหนือ คอยผู้ปกปักรักษาดูแลโลกมนุษย์ สถิตอยู่บนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา เป็นเทพแห่งความมั่งคั่ง และคอยช่วยเหลือเทพองค์อื่น ในการทำภารกิจต่างๆ ให้ลุล่วงสำเร็จ ซึ่งท้าวเวสสุวรรณ วัดจุฬามณี แตกต่างจากวัดอื่นๆ เพราะจะมีด้วยกันถึง 4 ปาง คือ
- ท้าวเวสสุวรรณปางพรหมาสูติเทพ องค์ปูนปั้นประทับนั่งสีขาว จะประทานพรในเรื่องของโชคลาภ การงาน การเงิน
- ท้าวเวสสุวรรณปางเทพบุตรสูติเทพ องค์สีทอง สวมใส่ภูษาสีแดง จะประทานพรในเรื่องความรัก คู่ครองความปรารถนาต่าง ๆ
- ท้าวเวสสุวรรณปางจาตุมหาราช องค์สีเขียวออกดำ สวมใส่ภูษาสีเขียว จะประทานพรในเรื่องช่วยคุ้มครองสิ่งชั่วร้าย และ
- ท้าวเวสสุวรรณปางมนุษย์ จะประทานพรในเรื่องการดำเนินชีวิตที่ราบรื่น ทำสิ่งใดก็ไม่มีอุปสรรค
คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ วัดจุฬามณี
วิธีบูชาท้าวเวสสุวรรณ วัดจุฬามณี
บทสวดคาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ(ท้าวกุเวร)
บทสวดบูชาท้าวเวสสุวรรณ แบบย่อ
*ท่องนะโมฯ ๓ จบ*
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
อิติปิ โส ภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ
(สวด ๓ จบ)
มะระณัง สุขัง อะหัง สุคะโต นะโม พุทธายะ
สวด 3 จบ ผู้ใดหวังความเจริญในลาภยศ ทรัพย์สินเงินทอง อำนาจวาสนา ให้บูชาองค์ท้าวเวสสุวรรณ
บทสวด คาถาบูชาท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร) ฉบับเต็ม
บูชาท้าวเวสสุวรรณ
พิกัดไหว้ท้าวเวสสุวรรณ (ท้าวกุเวร)
- พิกัดไหว้ท้าวเวสสุวรรณ วัดจุฬามณี อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม
- พิกัดไหว้ท้าวเวสสุวรรณ วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร เขตพระนคร จ.กรุงเทพมหานคร
- พิกัดไหว้ท้าวเวสสุวรรณ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร เขตบางกอกน้อย จ.กรุงเทพมหานคร
- พิกัดไหว้ท้าวเวสสุวรรณ วัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
- พิกัดไหว้ท้าวเวสสุวรรณ วัดรางหมัน หลวงปู่แผ้ว ปวโร (วัดประชาราษฏร์บำรุง) อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
- พิกัดไหว้ท้าวเวสสุวรรณ วัดปากน้ำโจ้โล้ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา
- พิกัดไหว้ท้าวเวสสุวรรณ วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร อ.เมือง จ.เชียงใหม่
- พิกัดไหว้ท้าวเวสสุวรรณ ศาลหลักเมือง จ.อุดรธานี
- พิกัดไหว้ท้าวเวสสุวรรณ วัดบ้านถ้ำ อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี
- พิกัดไหว้ท้าวเวสสุวรรณ พระวิหารเทวสถิตย์ มูลนิธิสรรพราเชนทร์ จ.นครปฐม
- พิกัดไหว้ท้าวเวสสุวรรณ วัดราษฏร์ศรัทธาธรรม (วัดบางชัน ) คันนายาว จ.กรุงเทพมหานคร
- พิกัดไหว้ท้าวเวสสุวรรณ (จีน) วัดโพธิ์แมนคุณาราม เขตยานนาวา จ.กรุงเทพมหานคร
- พิกัดไหว้ท้าวเวสสุวรรณ (จีน) วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) เจริญกรุง จ. กรุงเทพมหานคร
- พิกัดไหว้ท้าวเวสสุวรรณ (จีน) วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ (วัดเล่งเน่ยยี่ 2) บางบัวทอง จ.นนทบุรี
- พิกัดไหว้ท้าวเวสสุวรรณ (จีน) วัดเกตุมดีศรีวราราม จ.สมุทรสาคร
- พิกัดไหว้ท้าวเวสสุวรรณ (จีน) สถาบันพุทธศาสนา เถรวาทมหายาน วัดโฝวกวงซัน คู้บอน จ.กรุงเทพฯ
รูปภาพท้าวเวสสุวรรณ
หมายเหตุ รูปจากเว็บไซต์ฐานข้อมูลพระเมรุมาศ และเครื่องประกอบพระเมรุมาศ กรมศิลปากร
ที่มาข้อมูลและรูปภาพ:
- เว็บไซต์ฐานข้อมูลพระเมรุมาศ และองค์ประกอบพระเมรุมาศ (phramerumas.finearts.go.th)
- เว็บไซต์วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (th.wikipedia.org)
- เว็บไซต์วิกิซอร์ซ (th.wikisource.org)
Leave a comment