บูชาพระคลังในพระคลังมหาสมบัติ เสริมสิริมงคล คุ้มครอง เพิ่มพูนทรัพย์สินเงินทอง
- ลักษณะพระคลังมหาสมบัติ
- ประวัติพระคลังมหาสมบัติ
- ความเชื่อพระคลังในพระคลังมหาสมบัติ
- บทสวดคาถาบูชาพระคลังมหาสมบัติ
- รูปภาพพระคลังมหาสมบัติ
การบูชาเทวดา เทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำสถานที่ต่าง ๆ เป็นความเชื่อที่อยู่คู่สังคมไทยมาช้านาน การสร้างรูปเคารพเพื่อเป็นตัวแทนของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใช้ในการกราบไหว้สักการะบูชา ที่ที่ยึดเหยี่ยวจิตใจ โดยปรากฏหลักฐานจากรูปเคารพตามความเชื่อทางศาสนาแต่ละศาสนา ที่สร้างขึ้นจากความศรัทธาของกลุ่มคนทุกชนชั้นไม่เว้นแม้กลุ่มชนชั้นสูงหรือชนชั้นปกครองที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น พระพุทธรูป เทวรูป หรือรูปเคารพอื่น ๆ ในแต่ละยุดแต่ละสมัย ที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์ เจ้านาย หรือขุนนาง ซึ่งยังมีปรากฏให้เห็นอยู่เป็นจำนวนมากในปัจจุบัน
สมัยรัตนโกสินทร์ก็ยังคงสืบทอดกันต่อมา ในราชสำนักมีคติการสร้างรูปเคารพแทนองค์เทพเจ้า หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือบูชาด้วยเช่นกัน เช่น สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) มีการสร้างเทวรูปพระสยามเทวาธิราชขึ้น โดยประดิษฐานไว้ ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ เขตพระราชฐานชั้นใน ของพระบรมมหาราชวัง เพื่อเป็นรูปเคารพแทนเทพผู้ปกปักษ์รักษาและคุ้มครองสยามประเทศให้อยู่เย็นเป็นสุข รอดพ้นจากวิกฤติภยันตรายใดๆ ที่เข้ามารุกราน ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คนไทยให้ความเคารพนับถือสืบมาจนถึงปัจจุบัน นอกจาก พระสยามเทวาธิราชแล้วยังมีเทวรูปอีกองค์ที่มีความสำคัญ ที่เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คอยดูแลทรัพย์สินและพระคลังสมบัติตลอดจนเศรษฐกิจของประเทศ คือ เทวรูปพระคลัง ในพระคลังมหาสมบัติ โดยสร้างขึ้นตามความเชื่อที่ว่า เพื่อเป็นตัวแทนของเทพยดาเจ้าผู้รักษาพระคลังสมบัติของแผ่นดิน ตลอดจนเป็นที่เคารพนับถือและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจให้กับข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในพระคลังมหาสมบัติปฏิบัติงานด้วย ความซื่อสัตย์สุจริต ยึดมั่นในคุณธรรมและความถูกต้อง
ลักษณะพระคลังมหาสมบัติ
พระคลังในพระคลังมหาสมบัติ เป็นเทวรูป มีลักษณะเป็นประติมากรรมลอยตัว หล่อด้วยสำริด ปิดทอง ขนาดความสูงประมาณ ๑๒ นิ้ว (หรือประมาณ ๓๒ เซนติเมตร) ในลักษณะท่ายืน ทรงเครื่องแบบจักรพรรดิราช พระเศียรสวมศิราภรณ์ลักษณะคล้ายมงกุฎ พระพักตร์กลมรี พระโอษฐ์อมยิ้ม แต่งพระองค์ด้วยเครื่องถนิมพิมพาภรณ์ ประกอบด้วย กรองศอ สร้อยสังวาล ทับทรวง ต้นพาหาทั้งสองข้างประดับด้วยพาหุรัด พระหัตถ์ขวาทรงพระแสงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงดอกบัวตูม สวมพาหุรัด คาดสายรัดพระองค์และปั้นเหน่ง ทรงผ้านุ่งยาวลายยกดอก ประดับด้วยชายไหวชายแครง พระบาทสวมฉลองพระบาทเชิงงอน ประทับยืนบนแท่นฐานบัวลูกแก้ว รองรับด้วยพานรองทองเหลืองปากผายขอบกลีบบัว มีข้อสังเกตว่า การทรงเครื่องของพระคลังมีลักษณะ คล้ายกับพระพุทธรูปทรงเครื่องแบบจักรพรรดิราช ที่นิยมสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ จึงกล่าวได้ว่า ลักษณะการทรงเครื่องของพระคลังในพระคลังมหาสมบัตินี้ เป็นการแสดงฐานะเทพยดา ตามความเชื่อของคนไทย มีคติและรูปแบบเดียวกันกับการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยรัตนโกสินทร์
ประวัติความเป็นมาพระคลังในพระคลังมหาสมบัติ
พระคลังในพระคลังมหาสมบัติ เป็นเทวรูปที่ประดิษฐานอยู่ภายในอาคารสำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน บริเวณเขตพระราชฐานชั้นนอก ในพระบรมมหาราชวัง สันนิษฐานว่า อาคารสำนักทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดินนี้เคยเป็นที่ตั้งของ พระคลังมหาสมบัติ ส่วนเทวรูปพระคลังมีประวัติความเป็นมาไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด และไม่พบหลักฐานหรือเอกสารที่กล่าวถึงประวัติการสร้าง เทวรูปพระคลัง ในพระคลังมหาสมบัติ มีเพียงประวัติที่เล่าสืบต่อกันมาว่า ศิลปะในการสร้างที่งดงามตามแบบไทยโบราณ จากฝีมือช่างหลวงในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีลักษณะเป็นเทาวรูปประทับยืนบนฐานปัทม์ กายวิภาค ๗ ส่วนครึ่ง ซึ่งได้รับอิทธิพลผสมผสานจากไทยโบราณและตะวันตก โดยเรียกเทวรูปองค์นี้สืบต่อกันมาว่า “พระคลัง” หรือบ้างก็นิยมเรียกกันว่า”เจ้าพ่อคลัง” แต่ปัจจุบันมีชื่อเรียก ว่า “พระคลังในพระคลังมหาสมบัติ”
ความเชื่อพระคลังในพระคลังมหาสมบัติ
“พระคลัง ในพระคลังมหาสมบัติ” เปรียบได้ดั่งเทพยดาผู้พิทักษ์รักษาสมบัติทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน เป็นความเชื่อที่มีมาแต่โบราณกาล เป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การเคารพบูชากราบไหว้ เพื่อความเป็นสิริมงคลเกิดขึ้นแก่ผู้สักการะ เชื่อกันว่า กราบไหว้ขอพร จะนำมาซึ่งความเป็นสิริมงคล จะพบความสำเร็จทางด้านเงินทอง มีเงินมีทองใช้ไม่ขาด ทรัพย์สมบัติอยู่ครบ อีกทั้งเพิ่มพูน ร่ำวย มังคั่งตลอดไป
บทสวดคาถาบูชาพระคลังมหาสมบัติ
บทสวดบูชาพระคลังมหาสมบัติ แบบสั้น
*ท่องนะโม ๓ จบ*
มุนินทะ วะทะนัมพุชะ คัพภะ สัมภะวะ สุนทรี
ปาณีนัง สะระนังวาณี มัยหัง ปิณะยะตัง มะนัง
เพื่อปกป้องทรัพย์สินเงินทองให้เก็บออมได้ ให้หาเงินและใช้จ่ายได้ด้วยสติ ปัญญา อันถูก อันควร
พิกัดไหว้พระคลังมหาสมบัติ
รูปภาพพระคลังมหาสมบัติ
หมายเหตุ
- เครื่องถนิมพิมพาภรณ์ คือ เครื่องประดับต่างๆ ตามแต่ฐานะ ถนิมพิมพาภรณ์ มาจากคำว่า “พิมพา” และ “อาภรณ์” หมายถึงเ ครื่องประดับตกแต่งตามร่างกาย เช่น เข็มขัดหรือปั้นเหน่ง สังวาล ตาบหน้า กรองคอ สะอิ้ง พาหุรัด กำไลเท้า เป็นต้น
Leave a comment