คาถาบูชาพระพุทธสิหิงค์ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระราชวังบวรสถานมงคล วังหน้า กรุงเทพฯ

คาถาบูชาพระพุทธสิหิงค์

บทสวด สักการะบูชาพระพุทธสิหิงค์

พระพุทธสิหิงค์ พระคู่บ้านคู่เมืองไทย มีตำนานพระพุทธสิหิงค์ ว่าเป็นพระพุทธรูปที่พระมหากษัตริย์ลังกาได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 700 และเข้าสู่เมืองไทยในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ปัจจุบันมีพระพุทธสิหิงค์อยู่ 3 องค์ คือ องค์ที่ 1 พระพุทธสิหิงค์ที่ประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร เป็นหนึ่งในชุด 10 พระพุทธรูปวังหน้า องค์ที่ 2 พระพุทธสิหิงค์ที่ประดิษฐาน ณ หอพระพุทธสิหิงค์ ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช และองค์ที่ 3 พระพุทธสิหิงค์ที่ประดิษฐานอยู่ ณ วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่ แต่ยังมีคำถามที่ค้างคาในใจว่า พระพุทธสิหิงค์องค์จริง อยู่ที่ไหน ?

คาถาบูชาพระพุทธสิหิงค์

ตั้งนะโม 3 จบ

อิติ ปะวะระสิหิงโค อุตตะมะยะโสปิ

เตโช ยัตถะ กัตถะ จิตโต โส สักกาโร

อุปาโท สะการะพุทธะ สาสะนัง

โชตะยันโต วะ ทีโป สุระณะเรหิ

มะหิโต ธะระมาโน วะ พุทโธติ

พุทธสิหิงคา อุบัติมา ณ แดนใด
ประเสริฐ ธ เกริกไกร ดุจกายพระศาสดา
เป็นที่เคารพน้อม มนุษย์พร้อมทั้งเทวา
เปรียบเช่นชวาลา ศาสนาที่ยืนยง
เหมือนหนึ่งพระสัมพุทธ สุวิสุทธิ์พระชนม์คง
แดนใดพระดำรง พระศาสน์คงก็จำรูญ
ด้วยเดชสิทธิ์ศักดิ์ ธ พิทักษ์อนุกูล
พระศาสน์ บ มิสูญ พระเพิ่มพูนมหิทธา
ข้า ฯ ขอเคารพน้อม วจีค้อมขึ้นบูชา
พิทักษ์ ธ รักษา พระศาสน์มาตลอดกาล
ปวงข้าจะประกาศ พุทธศาสน์ให้ไพศาล
ขอพระอภิบาล ชินมารนิรันดร์ เทอญ ฯ

สวดทุกค่ำเช้า ก่อนนอน ก่อนออกจากบ้าน จักเกิดลาภผล อันสุจริต เป็นศิริมงคล คุ้มครองป้องกันแคล้วคลาดจากภยันตราย

อานิสงส์การบูชาพระพุทธสิหิงค์

อานิสงส์ของการกราบไหว้พระพุทธสิหิงค์นั้น หลวงวิจิตรวาทการ ผู้รวบรวมประวัติ ตำนานพระพุทธสิหิงค์ย่อ ได้กล่าวไว้ความตอนหนึ่งว่า

“ข้าพเจ้าผู้เขียนตำนานย่อฉบับนี้ มีความเชื่อมั่นในอานุภาพของพระพุทธสิหิงค์อยู่มาก อย่างน้อยก็สามารถบำบัดทุกข์ร้อนในใจให้เหือดหาย ผู้ใดมีความทุกข์ร้อนในใจท้อถอยหมดมานะด้วยเหตุหนึ่งเหตุใด ข้าพเจ้าขอแนะนำให้มาจุดธูปเทียนบูชาและนั่งนิ่งๆ มองดูพระองค์สัก 10 นาที ความทุกข์ร้อนในใจจะหายไป ด้วงจิตที่เหี่ยวแห้งจะกลับมาสดชื่น หัวใจที่ท้อถอยหมดมานะ จะกลับเข้มแข็งมีความมานะพยายาม ดวงจิตที่หวาดกลัวจะกลับกล้าหาญ ดวงจิตที่เกียจคร้านจะกลับขยัน ผู้ที่หมดหวังจะกลั[มีหวัง”

หลวงวิจิตรวาทการ ผู้รวบรวมประวัติ ตำนานพระพุทธสิหิงค์ย่อ

พระพุทธสิหิงค์ ในประเทศไทย มีทั้งหมด 3 องค์ คือ

  1. พระพุทธสิหิงค์ กรุงเทพมหานคร
  2. พระพุทธสิหิงค์ เชียงใหม่
  3. พระพุทธสิหิงค์ นครศรีธรรมราช

พิกัดพระพุทธสิหิงค์ ทั้ง ๓ องค์

  1. พระพุทธสิหิงค์ กรุงเทพฯ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ กรุงเทพมหานคร
  2. พระพุทธสิหิงค์ เชียงใหม่ ณ วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่
  3. พระพุทธสิหิงค์ นครศรีธรรมราช ณ หอพระพุทธสิหิงค์ ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช

Leave a comment