Garlic – “Antibiotics” versatile

Donec nec mollis mi, eget dictum diam. Etiam in sollicitudin sapien, et consectetur metus. Phasellus sed lorem at sapien fera mentum consequat. Nullam vitae aliquam arcu. Nam odio felis, aliquam ac nulla non, luctus sodales enim.

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Nam congue scelerisque orci, sit amet eleifend sem elementum sed. Sed cursus neque sit amet ultricies congue. Vivamus a mollis nulla, eu aliquet sapien. Cras et elit iaculis sem dictum maximus quis eu leo. Cras luctus tempor dolor, aliquet laoreet risus aliquet at. Nulla metus sapien, rho ncus quis erat sed, fermentum ullamcorper ligula. Aliquam hendrerit risus et ultrices porttitor. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Nam congue scelerisque orci, sit amet eleifend sem elementum sed. Sed cursus neque sit amet ultricies congue. Vivamus a mollis nulla, eu aliquet sapien. Cras et elit iaculis sem dictum maximus quis eu leo. Cras luctus tempor dolor, aliquet laoreet risus aliquet at.

“Twenty years from now you will be more disappointed by the things that you didn’t do than by the ones you did do. So throw off the bowlines. Sail away from the safe harbor. Catch the trade winds in your sails. Explore. Dream. Discover.”

– Jackson Brown Jr

Donec nec mollis mi, eget dictum diam. Etiam in sollicitudin sapien, et consectetur metus. Phasellus sed lorem at sapien fermentum con sequat. Nullam vitae aliquam arcu. Nam odio felis, aliquam ac nulla non, luctus sodales enim. Praesent nibh nunc, mollis eget dictum ut, fermentum at enim. Nunc consectetur dui eget ligula sodales porta. Fusce mal esuada augue lorem. Donec sagittis urna eget enim euismod congue. Vestibulum porttitor mauris id massa egestas commodo. Aenean eu tortor sit amet diam lobortis finibus eu eu turpis. Cras mi enim, accumsan vitae urna et, dictum rhoncus elit. Aenean euismod cursus porta. Nunc quis mi nec tortor molestie eleifend. Nullam suscipit purus quis est consectetur, non maximus eros pulvinar. Sed et porta ligula. Fusce rutrum placerat lacinia. Vestib ulum ante ipsum primis in faucibus orci luctus et ultrices posuere cubilia curae; Curabitur et mollis neque, et commodo lectus.

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipisicing elit, sed do eiusmod tempor incididunt ut labore et dolore magna aliqua. Ut enim ad minim veniam, quis nostrud exercitation ullamco laboris nisi ut aliquip ex ea commodo consequat. Duis aute irure dolor in reprehenderit in voluptate velit esse cillum dolore eu fugiat nulla pariatur. Excepteur sint occaecat cupidatat non proident, sunt in culpa qui officia.

พระประจำวันพฤหัสบดี - พระประจำวันเกิด | พระ9วัด

พระประจำวันพฤหัสบดี พระพุทธรูปปางสมาธิ

พระประจำวันพฤหัสบดี พระพุทธรูปปางสมาธิหรือพระปางตรัสรู้ คาถา บทสวดมนต์บูชา พระประจำวันพฤหัสบดี แบบย่อ คนเกิดวันพฤหัสบดี สวด ๑๙ จบ พิกัดพระพุทธรูปปางสมาธิหรือพระปางตรัสรู้ การเดินทางสักการะบูชาและประวัติความเป็นมาของพระพุทธรูป

พระพุทธสิหิงค์ วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร เชียงใหม่ พระพุทธรูปปางขัดสมาธิเพชร ศิลปะล้านนา

พระพุทธสิหิงค์ เชียงใหม่ พระพุทธรูปปางขัดสมาธิเพชรศิลปะเชียงแสน

พระพุทธสิหิงค์ที่ประดิษฐานที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพุทธลักษณะปางมารวิชัย คล้ายกับพระพุทธสิหิงค์ที่นครศรีธรรมราช ศิลปะเชียงแสน คือจะเป็นพุทธลักษณะนั่งขัดสมาธิเพชร เข้าใจว่ามีลักษณะทางศิลปกรรมแบบสุโขทัยที่มีอิทธิพลศิลปะลังกา

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร} สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ 19 วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร จังหวัดกรุงเทพมหานคร

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร, สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ 19

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร,

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ 19

วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร จังหวัดกรุงเทพมหานคร


สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ 19 หรือสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร พระนามเดิม เจริญ คชวัตร ฉายา สุวฑฺฒโน (3 ตุลาคม พ.ศ. 2456 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556) เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2532 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ถือเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่มีพระชันษามากกว่าสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ในอดีตและเป็นพระองค์แรกของไทยที่มีพระชันษา 100 ปี สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เนื่องจากติดเชื้อในกระแสพระโลหิต

ประวัติสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ 19

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร มีพระนามเดิมว่า เจริญ คชวัตร ประสูติเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2456 ที่จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรคนโตของพระชนกน้อย คชวัตร และพระชนนีกิมน้อย คชวัตร พระองค์มีน้องชาย 2 คน ได้แก่ นายจำเนียร คชวัตร และนายสมุทร คชวัตร พระชนกของพระองค์ป่วยเป็นโรคเนื้องอกและเสียชีวิตไปตั้งแต่พระองค์ยังเล็ก หลังจากนั้น พระองค์ได้มาอยู่ในความดูแลของนางกิมเฮ้ง หรือกิมเฮงซึ่งเป็นพี่สาวของพระชนนีกิมน้อยที่ได้ขอพระองค์มาเลี้ยงดู[2] และนางกิมเฮ้งจึงตั้งชื่อหลานชายผู้นี้ว่า “เจริญ”

หลังจากที่พระองค์สอบได้เปรียญธรรม 9 แล้ว พระองค์ทรงเริ่มงานอันเกี่ยวเนื่องกับคณะสงฆ์อีกมากมาย ซึ่งนอกเหนือจากเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแล้ว พระองค์ยังเป็นผู้อำนวยการศึกษาสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหารซึ่งมีหน้าที่จัดการศึกษาของภิกษุสามเณรทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลี รวมทั้งทรงเป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่งในฐานะเป็นพระเปรียญ 9 ประโยค ต่อมา เมื่อมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2488 พระองค์ทรงรับหน้าที่เป็นกรรมการสภาการศึกษาและอาจารย์ของมหาวิทยาลัย รวมทั้ง เป็นพระวินัยธรชั้นอุทธรณ์และรักษาการพระวินัยธรชั้นฎีกาในกาลต่อมา นอกจากนี้ ยังทรงเป็นเลขานุการในสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์อีกด้วย

พ.ศ. 2515 พระองค์ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร ซึ่งเป็นราชทินนามที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดให้ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทานสถาปนาสมเด็จพระอริยวงษญาณ (สุก ญาณสังวร) พระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2359 ตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระญาณสังวร จึงเป็นตำแหน่งพิเศษที่โปรดพระราชทานสถาปนาแก่พระเถระผู้ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระเท่านั้น

เมื่อสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ สมเด็จพระสังฆราชในขณะนั้นสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2531 ทำให้ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในราชทินนามเดิมคือ สมเด็จพระญาณสังวร ซึ่งราชทินนามดังกล่าวนับเป็นราชทินนามพิเศษ กล่าวคือ สมเด็จพระสังฆราชที่มิได้เป็นพระบรมวงศานุวงศ์นั้น โดยปกติจะใช้ราชทินนามว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ บางพระองค์ ครั้งนี้จึงนับเป็นอีกหนึ่งครั้งมีการใช้ราชทินนาม สมเด็จพระญาณสังวร สำหรับสมเด็จพระสังฆราชเพื่อเป็นการยกย่องพระเกียรติคุณทางวิปัสสนาธุระของพระองค์ให้เป็นที่ประจักษ์

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 19:30 นาฬิกา ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เนื่องจากติดเชื้อในกระแสพระโลหิต [1] มีการเคลื่อนพระศพจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มายังตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 12:15 นาฬิกา ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงสรงน้ำพระศพในวันเดียวกัน เวลา 17:00 น. ทรงพระกรุณาโปรดถวายพระโกศกุดั่นใหญ่ทรงพระศพแทนพระโกศกุดั่นน้อย ประดิษฐานภายใต้เศวตฉัตรสามชั้น แวดล้อมด้วยเครื่องประกอบพระเกียรติยศ ณ ตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร และให้มีพิธีสวดพระอภิธรรมพระศพเจ็ดวัน

ในปี พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนาพระอัฐิของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (วาสน์ วาสโน) ในฐานะพระราชอุปัธยาจารย์เมื่อครั้งทรงผนวช ขึ้นเป็น “สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ” ในการนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เจ้าพนักงานจัดฉัตรตาดเหลือง 5 ชั้น ถวายกางกั้นพระรูปบรรจุพระสรีรางคาร ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้แบ่งพระอัฐิบรรจุลงพระโกศทองคำ เชิญมาประดิษฐานในหอพระนาก วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อเป็นที่ทรงสักการบูชาและทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายในพระฐานะพระบุพการีทางธรรมสืบไป

ธรรมะ คำสอนสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ 19

องค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า พระองค์ที่ 19 (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร) ธรรมะและคำสอนของพระองค์ ทรงนิพนธ์หนังสือและบทความต่าง ๆ ทั้ง ร้อยแก้ว และร้อยกรองไว้มากมาย ได้มีรวบรวม 100 คำสอน สมเด็จพระสังฆราช

คำสอนสมเด็จพระสังฆราช ที่ 19

มนุษย์ ที่ แปลอย่างหนึ่งว่า ผู้มีจิตใจสูง คือ มีความรู้สูง ดังจะเห็นได้ว่าคนเรามีพื้นปัญญาสูงกว่าสัตว์ดิรัจฉานมากมาย สามารถรู้จักเปรียบเทียบในความดี ความชั่ว ความควรทำไม่ควรทำ รู้จักละอาย รู้จักเกรง รู้จักปรับปรุงสร้างสรรค์ที่เรียกว่าวัฒนธรรม อารยธรรม ศาสนา เป็นต้น แสดงว่ามีความดีที่ได้สั่งสมมา โดยเฉพาะปัญญาเป็นรัตนะ ส่องสว่างนำทางแห่งชีวิต ถึงดังนั้นก็ยังมีความมืดที่มากำบังจิตใจให้เห็นผิดเป็นชอบ ความมืดที่สำคัญนั่นก็คือ กิเลสในจิตใจและกรรมเก่าทั้งหลาย

รวมรูปสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ 19

 

 

ที่มา:

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ, สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ 18 วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร จังหวัดกรุงเทพมหานคร

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ, สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ 18

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ,

สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ 18

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร จังหวัดกรุงเทพมหานคร

  • ประวัติสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ 18
  • งานพระนิพนธ์สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ 18
  • รวมรูปสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ 18
  • พระเครื่องยอดนิยม สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ 18
  • วัตถุมงคล/พระสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ 18

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ พระนามเดิม วาสน์ นิลประภา ฉายา วาสโน เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกพระองค์ที่ 18 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2517 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงอยู่ในตำแหน่ง 14 พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2531 สิริพระชันษา 91 ปี

ประวัติสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ 18

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ มีพระนามเดิมว่ามัทรี นิลประภา ภายหลังเปลี่ยนพระนามเป็น วาสน์ ประสูติเมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2440 เวลา 19.33 น. ที่ตำบลบ่อโพง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นบุตรคนโตของพระชนกผาดและพระชนนีบาง นิลประภา

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ สิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคปับผาสะอักเสบ พระหทัยวาย ณ โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2531 เวลา 16:50 น. สิริพระชันษา 91 ปี 178 วัน สำนักนายกรัฐมนตรีได้ประกาศถวายความอาลัยโดยให้สถานราชการทุกแห่งลดธงลงครึ่งเสาเป็นเวลา 3 วัน และข้าราชการไว้ทุกข์เป็นเวลา 15 วัน ได้รับพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันเสาร์ที่ 18 มีนาคม 2532 ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส

ในปี พ.ศ. 2562 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสถาปนาพระอัฐิของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (วาสน์ วาสโน) ในฐานะพระราชอุปัธยาจารย์เมื่อครั้งทรงผนวช ขึ้นเป็น “สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ” ในการนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เจ้าพนักงานจัดฉัตรตาดเหลือง 5 ชั้น ถวายกางกั้นพระรูปบรรจุพระสรีรางคาร ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กับทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้แบ่งพระอัฐิบรรจุลงพระโกศทองคำ เชิญมาประดิษฐานในหอพระนาก วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อเป็นที่ทรงสักการบูชาและทรงบำเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวายในพระฐานะพระบุพการีทางธรรมสืบไป

งานพระนิพนธ์สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ 18

องค์สมเด็จพระสังฆราชเจ้า พระองค์ที่ 18 (สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวราลงกรณ) ทรงนิพนธ์หนังสือและบทความต่าง ๆ ทั้ง ร้อยแก้ว และร้อยกรองไว้มากมาย

งานพระนิพนธ์ ทรงนิพนธ์หนังสือและบทความต่าง ๆ ทั้ง ร้อยแก้ว และร้อยกรองไว้เป็นจำนวนมาก เช่น ทิศ 6 สังคหวัตถุ 4 สัมปรายิกัตถประโยชน์ วัดของบ้าน พุทธศาสนคุณ พัฒนาใจ บุคคลหาได้ยาก มรดกชีวิต ความเติบโต วาสนาสอนน้อง จดหมายถึงพ่อ วาทแห่งวาสน์ คำกลอนสอนใจ วาสนคติ นิราศ 2 ปี สวนดอกสร้อย สักวาปฏิทิน กลอนปฏิทิน อาจารย์ดี สมพรปาก คน-ระฆัง เรือ-สมาคม วัยที่เขาหมดสงสาร และบทความเรื่องบันทึกศุภาสินี

รวมรูปสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระองค์ที่ 18

 

 

ที่มา

0
Back to Top

ค้นหา รายการสินค้า

Product has been added to your cart