เจ้าคุณนรฯ ท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิต์ ธมฺมวิตกฺโก วัดเทพศิรินทร์

เจ้าคุณนรฯ, ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ธมฺมวิตกฺโก, พระยานรรัตนราชมานิต (ตรึก จินตยานนท์)

เจ้าคุณนรฯ ท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ธมฺมวิตกฺโก วัดเทพศิรินทร์ อานุภาพของไตรสิกขา จึงจะชนะ ข้าศึก คือ กิเลสอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียดได้ ผู้ศึกษาปฏิบัติตามไตรสิกขา คือ “ศีล สมาธิ ปัญญา” บริบูรณ์ สมบูรณ์แล้ว ผู้นั้นจึงเป็นผู้พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้เป็นแน่นอน ไม่ต้องสงสัยเลย “

ท่านพุทธทาสภิกขุ หรือ พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) สวนโมกขพลาราม วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี

พุทธทาสภิกขุ, พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)

พุทธทาสภิกขุ, พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ)

ธารน้ำไหล (สวนโมกขพลาราม)

วัดพระบรมธาตุไชยาราชวรวิหาร จังหวัด สุราษฎร์ธานี

  • ประวัติพุทธทาสภิกขุ
  • คำสอนพุทธทาสภิกขุ
  • รวมรูปพุทธทาสภิกขุ

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปญฺโญ) หรือรู้จักในนาม พุทธทาสภิกขุ (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 – 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536) เป็นชาวอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2449 เริ่มบวชเรียนเมื่ออายุได้ 20 ปี ที่วัดบ้านเกิด จากนั้นได้เข้ามาศึกษาพระธรรมวินัยต่อที่กรุงเทพมหานคร จนสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค แต่แล้วท่านพุทธทาสภิกขุก็พบว่าสังคมพระพุทธศาสนาแบบที่เป็นอยู่ในขณะนั้นแปดเปื้อนเบือนบิดไปมาก และไม่อาจทำให้เข้าถึงหัวใจของศาสนาพุทธได้เลย ท่านจึงตัดสินใจหันหลังกลับมาปฏิบัติธรรมที่อำเภอไชยา ซึ่งเป็นภูมิลำเนาเดิมของท่านอีกครั้ง พร้อมปวารณาตนเองเป็น พุทธทาส เนื่องจากต้องการถวายตัวรับใช้พระพุทธศาสนาให้ถึงที่สุด ท่านได้รับว่าเป็น บุคคลสำคัญของโลกชาวไทยโดยยูเนสโก

ประวัติพุทธทาสภิกขุ

ท่านพุทธทาสภิกขุมีนามเดิมว่า เงื่อม พานิช เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7 ปีมะเมีย หรือวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2449 ในสกุลของพ่อค้า ที่ตลาดพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นพุมเรียงยังเป็นที่ตั้งของตัวเมืองไชยา หรือจังหวัดไชยา ก่อนที่จะกลายมาเป็นจังหวัดสุราษฎร์ธานีในปัจจุบัน

ท่านพุทธทาสภิกขุได้บวชเรียนตามประเพณี เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2469 ที่โรงอุโบสถวัดอุบล หรือวัดนอก ก่อนจะย้ายมาประจำอยู่ที่วัดพุมเรียง มีพระอุปัชฌาย์คือ พระครูโสภณเจตสิการาม (คง วิมาโล) รองเจ้าคณะเมืองในสมัยนั้น และมีพระปลัดทุ่ม อินทโชโต เจ้าอาวาสวัดอุบล และ พระครูศักดิ์ ธมฺรกฺขิตฺโต เจ้าอาวาสวัดวินัย (อำเภอไชยา) หรือวัดหัวคู เป็นพระคู่สวด ท่านพุทธทาสภิกขุได้รับฉายาว่า อินทปญฺโญ ซึ่งแปลว่าผู้มีปัญญาอันยิ่งใหญ่

การบวชของท่านพุทธทาสภิกขุเป็นไปตามธรรมเนียม และไม่คิดที่จะบวชไม่สึก ดังที่ท่านปัญญานันทภิกขุอ้างถึงคำพูดของท่านพุทธทาสภิกขุก่อนที่จะบวชไว้ว่า

เรื่องบัญชี บัญน้ำ เก็บไว้ก่อน เมื่อสึกออกมาแล้วค่อยมาทำต่ออีก
ท่านพุทธทาสภิกขุเล่าถึงมูลเหตุการบวชของตนเองไว้ว่า

เท่าที่นึกได้ เท่าที่จำได้นี่ เขาปรึกษากันบ่อยๆ ในหมู่ผู้ใหญ่ อย่างว่าเวลาอามาพบ ก็จะปรึกษากันเรื่องอยากให้บวช ป้า น้า ญาติพี่น้องก็ปรึกษากันอยากให้บวช แต่จำไม่ได้ว่ามีประโยคที่โยมพูดว่าบวชเถอะๆ เรา ตามใจเขา เราแล้วแต่เขา ความรู้สึกรักษาประเพณีมันทำให้เกิดเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมา มันรู้สึกคล้ายๆ กับว่าไม่ครบหรือไม่สมบูรณ์ถ้าไม่เคยบวช มันจึงยินดีที่จะบวช คำสั่งให้บวชหรือคำชี้แจงแนะนำอย่างโดยตรงก็ไม่เคยได้รับ แต่มันรวมพร้อมกัน จากการได้ยินบ่อยๆ ได้รับความรู้สึกบ่อยๆ แปลกเหมือนกัน ถ้าจะเอากันจริงๆ ว่าใครเป็นคนสั่ง ใครเป็นคนรับ ใครเป็นคนแนะนำ มันไม่มี มันนึกไม่ออก ที่ถูกมันเป็นความเห็นพ้องกันหมดว่าต้องบวช ควรบวช แต่นี่มันรู้แน่ ๆ ก็คือความประสงค์อย่างยิ่งของโยม แต่คำสั่งนั้นไม่เคยได้รับ คำขอร้องก็ไม่เคยได้รับ ส่วนความคิดของตัวเองนั้นผมคงเห็นว่าบวชก็ได้ ไม่บวชก็ได้ ตามพันธสัญญาก็จะบวชให้โยม 1 พรรษา คือ 3 เดือน คนหนุ่มสมัยนั้นเมื่ออายุครบบวชก็บวชกันเป็นส่วนมาก
หลังจากบวชได้เพียง 10 วัน ท่านพุทธทาสภิกขุก็ได้รับโอกาสให้ขึ้นแสดงธรรม ในการนี้ท่านได้ปฏิวัติการเทศน์เสียใหม่ คือแทนที่จะเทศน์โดยอ่านจากคัมภีร์ใบลานอย่างเดียว ก็นำเนื้อหาจากหลักสูตรนักธรรมไปประกอบขยายความ ทำให้การเทศน์เป็นไปด้วยความสนุกและเข้าใจง่าย ผู้ที่ได้ฟังจึงติดใจและเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ในขณะนั้น พระที่พอจะเทศน์ได้ในวัดล้วนแต่อิดเอื้อนไม่อยากเทศน์ จึงเป็นเป็นโอกาสให้ท่านพุทธทาสภิกขุได้ขึ้นเทศน์ทุกวันในพรรษาเทศน์ และเทศน์ทุกวันพระในช่วงนอกพรรษา ซึ่งท่านพุทธทาสภิกขุก็รักชอบที่จะทำงานนี้

นอกจากการเทศน์แล้ว ช่วงพรรษาแรกท่านพุทธทาสภิกขุยังได้เรียนนักธรรม และเพลิดเพลินอยู่กับการอ่านและเขียนหนังสือ รวมทั้งการคัดลอกและซ้อมแต่งกระทู้ (พระพุทธศาสนา) จนทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุสอบได้นักธรรมตรีในพรรษานี้เอง กิจวัตรการนั่งกับที่เป็นเวลานานทำให้ท่านพุทธทาสภิกขุเป็นโรคกระษัย แต่ท่านก็รักษาด้วยตนเองจนหายในพรรษาต่อๆ ไป

นอกจากการเทศน์และการเรียนนักธรรมแล้ว ท่านพุทธทาสภิกขุยังได้เขียนหนังสือพิมพ์เถื่อนลงในกระดาษฟุลสแก๊ป เป็นเรื่องขำขันให้ผู้อื่นได้หัวเราะกันภายในวัด เรื่องนี้ท่านพุทธทาสภิกขุเล่าให้ฟังเอาไว้ว่า

ผมออกหนังสือพิมพ์เถื่อนเป็นกระดาษฟุลสแก๊ป 2 คู่ มันเป็นเรื่องสนุกเท่านั้น เราเขียนก่อนสวดมนต์ต์ตอนค่ำ พอพระสวดมนต์ต์เสร็จ เราก็เอามาให้อ่านกัน เขาอ่านแล้วหัวเราะ วิพากษ์วิจารณ์กัน เรามีความอวดดี ที่จะทำให้คนอื่นเขาหัวเราะได้ รู้สึกว่ามันทำให้เพื่อนสบายใจ จิตมันเป็นบุญเป็นกุศล ไม่ได้คำนึงถึงสาระอะไรในตอนแรก

พระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ) หรือ ท่านพุทธทาสภิกขุ ได้ละสังขารอย่างสงบ ณ สวนโมกขพลาราม เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 สิริรวมอายุ 87 ปี 67 พรรษา คงเหลือไว้แต่ผลงานที่ทรงคุณค่าแทนตัวท่านให้อนุชนคนรุ่นหลังได้สืบสานปณิธานของท่านรับมรดกความเป็น “พุทธทาส” เพื่อพุทธทาสจะได้ไม่ตายไปจากพระพุทธศาสนาดังบทประพันธ์ของท่านที่ว่า

พุทธทาส จักอยู่ไป ไม่มีตาย แม้ร่างกายจะดับไปไม่ฟังเสียง
ร่างกายเป็น ร่างกายไป ไม่ลำเอียง นั่นเป็นเพียงสิ่งเปลี่ยนไปในเวลา
พุทธทาส คงอยู่ไป ไม่มีตาย ถึงดีร้ายก็จะอยู่คู่ศาสนา
สมกับมอบ กายใจ รับใช้มา ตามบัญชาองค์พระพุทธไม่หยุดเลย
พุทธทาส ยังอยู่ไป ไม่มีตาย อยู่รับใช้ เพื่อนมนุษย์ไม่หยุดเฉย
ด้วยธรรมโฆษณ์ตามที่วางไว้อย่างเคย โอ้เพื่อนเอ๋ยมองเห็นไหมอะไรตายฯ
แม้ฉันตาย กายลับ ไปหมดแล้ว แต่เสียงสั่ง ยังแจ้ว แว่วหูสหาย
ว่าเคยพลอดกันอย่างไรไม่เสื่อมคลาย ก็เหมือนฉันไม่ตาย กายธรรมยัง
ทำกับฉัน อย่างกะฉัน นั้นไม่ตาย ยังอยู่กับ ท่านทั้งหลายอย่างหนหลัง
มีอะไรมาเขี่ยไค้ ให้กันฟัง เหมือนฉันนั่ง ร่วมด้วย ช่วยชี้แจง
ทำกับฉัน อย่างกะฉัน ไม่ตายเถิด ย่อมจะเกิด ผลสนอง หลายแขนง
ทุกวันนัด สนทนา อย่าเลิกแล้ง ทำให้แจ้ง ที่สุดได้ เลิกตายกันฯ

ธรรมะ คำสอนพุทธทาสภิกขุ

ธรรมะและคำสอน จากท่านพุทธทาสนั้น มีอยู่มากมาย นี่เป็นเพียงหนึ่ง จากหลายคำสอนจากท่าน

ในโลกกลม ๆ ใบนี้ … ไม่มีคำว่าแน่นอน

คนเราเมื่อตัวตาย … ก็ต้องลงดิน

ท้อแท้ได้ … แต่อย่าท้อถอย

จฉาได้ … แต่อย่าริษยา

พักได้ … แต่อย่าหยุด

รวมรูป ท่านพุทธทาสภิกขุ

 

 

ที่มา

หลวงพ่อปาน โสนนฺโท (พระครูวิหารกิจจานุการ) วัดบางนมโค จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

หลวงพ่อปาน โสนนฺโท (พระครูวิหารกิจจานุการ)

หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค (16 กรกฎาคม พ.ศ. 2418 — 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2481) พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่ง พระนครศรีอยุธยา ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดบางนมโครูปที่ 3 ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางนมโคระหว่างปี พ.ศ. 2478 จนถึงปี พ.ศ. 2481

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต วัดป่าสุทธาวาส สกลนคร

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต (พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต)

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต, พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต หรือนามตามสมณศักดิ์ว่า พระครูวินัยธรมั่น ภูริทตฺโต เป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกาย (พระวัดป่าสายกรรมฐาน) ชาวจังหวัดอุบลราชธานี ผู้เป็นบูรพาจารย์สายพระวัดป่าในประเทศไทย

หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ (พระแหวน สุจิณโณ) วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่

หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ (พระแหวน สุจิณโณ)

หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ หรือพระแหวน สุจิณโณ (16 มกราคม พ.ศ. 2430 — 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2528) เป็นภิกษุชาวไทย จำพรรษา ณ วัดดอยแม่ปั๋ง จังหวัดเชียงใหม่

0
Back to Top

ค้นหา รายการสินค้า

Product has been added to your cart